คลื่นยักษ์สึนามิ กับ IT (Disaster Recovery)


อัปเดท : 27 ธันวาคม พ.ศ.2547 , แสดง : 28,630 , ความคิดเห็น : 6

ช่วง 2 วันมานี้ ผมเองก็ติดตามข่าว คลื่นยักษ์ “tsunami” , “สึนามิ” ที่ถล่ม 6 จังหวัดในภาคใต้ ดูจากข่าวเห็นแล้วน่าหดหู่ยิ่งนัก ผมก็ช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ก็เพิ่งบริจาคเสื้อผ้าไป และคอยเป็นกำลังใจ ...ตอนดูข่าวเห็นภาพโรงแรม และธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ไกล้ชายหาดพังยับเยิน ผมเลยมองผลที่ตามมาภายหลัง ในเรื่องที่กระทบเกี่ยวกับ IT ของธุรกิจนั้นๆ เลยคิดเล่นๆว่า ถ้าโรงแรมที่เสียหายยับเยินนั้นมีระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อบริการลูกค้าหรือทำธุรกรรมอื่นๆ แล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่หายไปหมดเลยเหรอ ไหนจะข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน และข้อมูลอื่นๆ ของธุรกิจนั้น ซึ่งสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งข้อมูลที่เป็น Computer Base และ Paper Base ที่สูญหายไป อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวไปหรือเปล่า ? ( ความจริงอาจไม่เลวร้ายขนาดนั้น)

วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่อง Tsunami กับ IT ซึ่งจริง ๆไม่ได้เกี่ยวกันสักเท่าไหร่ แต่มุมมองของ IT Security (ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ) หรือที่เรียกติดปากว่า "ความปลอดภัย" (ความปลอดภัยน่าจะใช้คำว่า "Self" จะดูดีกว่า) หลายท่านที่เคยศึกษาเกี่ยวกับ IT Security จะเห็นว่า IT Security ในประเทศไทยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ Threats หรือภัยคุกคามต่าง ๆ รวมทั้งความเสี่ยง(Risk) ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Virus,การถูกโจมตีจาก Hacker หรือ Cracker , Dos ซึ่งมีโอกาศเกิดขึ้นบ่อย แต่มีอีกหัวข้อที่ IT Security พูดถึงแต่เรา ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญมากเท่าไหร่ คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Natural Disaster) หรือการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรืออื่นๆ ประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อย ๆ เช่นญี่ปุ่นซึ่งเกิดแผ่นดินไหว เค้าก็จะมีแผนฉุกเฉินเพื่อจัดการเรื่องพวกนี้ไว้ (Security Control Spreadsheet)  เพื่อเตรียมการป้องกัน โดยในแผนก็จะมี ข้อมูลทรัพย์สินต่างๆ ทั้ง Hardware และ Software , เดต้า และบุคลากร ขององค์กรนั้น ๆ ที่ประเมินแล้วให้ลำดับความสำคัญของทรัพย์สินต่างๆไว้แล้ว เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติจริง ๆ จะเป็นช่วงที่วุ่นวายมาก ไม่มีเวลามาคิดวางแผนหรือตัดสินใจเพื่อรับมือกับปัญหา ก็ให้ทำตามแผนอย่างเดียว เช่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน อาจทำอะไรไม่ถูก ตกใจ คิดได้แค่ว่ายก PC ของตัวเองขึ้นไว้ชั้นบนก่อน ซึ่งอาจลืม Database Server มาดูอีกที อ้าว!! จมน้ำไปแล้วเป็นต้น

ผู้ดูแลระบบที่เตรียมการเรื่องภัยพิบัติจากธรรมชาติ ก็จะรู้ว่า ข้อมูลหรือทรัพย์สินอันไหนสำคัญที่สุด เช่น Database Server อันดับ 1 , Mail Server อันดับ 2 ผู้ดูแลก็จะให้ความสำคัญกับ Database Server ก่อน เมื่อเคลื่นย้าย Database Server แล้ว ก็เคลื่อนย้าย Mail Server และ ลำดับ อื่นๆตาม ความสำคัญ ซึ่งแต่ละองค์กรอาจให้ลำดับความสำคัญของทรัพย์สินแตกต่างกัน

  
 

แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แผนฉุกเฉิน (Security Control Spreadsheet) ที่อาจเตรียมไว้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย !  เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วมาก ไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า การที่ต้องเอาชิวิตให้รอดปลอดภัยเป็นสี่งที่สำคัญกว่า

ดังนั้นการสำรองข้อมูล และเก็บไว้ที่อื่น ๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกู้ระบบหรือข้อมูลกลับมาเมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Disaster Recovery )

การเตรียมการเรื่องพวกนี้จริงๆแล้วต้องเริ่มตั้งแต่ออกแบบระบบ ลักษณะการเก็บข้อมูล จะเก็บแบบไหนเก็บที่เดียว หรือกระจายเก็บหลายที่ ( Distributed )  หรือใช้ลักษณะการสำรองข้อมูลเก็บไว้ที่อื่น ก็ต้องมีนโยบายอีกว่าสำรองข้อมูลบ่อยแค่ไหน (ทุกวัน , ทุกอาทิตย์ , ทุกเดือน) มีการควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเมือเกิดปัญหาจะสามารถกู้คืนระบบได้รวดเร็ว และ ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด

ในเรื่องการเตรียมการรองรับภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปรกติจะมีการออกแบบในลักษณะของสถานที่ เช่นห้องวาง Server หรือทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูง ไว้ชั้นบนเพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือมีระบบสารเคมีที่ใช้ดับเพลิงในกรณีที่ไฟไหม้ เป็นต้น

การสำรองข้อมูล และนำไปเก็บในที่ ที่ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ อาจทำสำเนาเก็บไว้หลาย ๆ ที่ ดูเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตามต้องมีการควบคุมดูแลที่ดี ดังนั้นเมือเกิดภัยพิบัติ แม้เครื่องคอมพิวเตอร์จะหายจมไปกับน้ำ เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ที่สำคัญ ข้อมูลที่สำรองไว้ที่อื่น ก็ยังอยู่ อาจใช้เวลาไม่นาน ในการกู้ระบบให้กลับคืนมา และดำเนินธุรกิจต่อไป

สุดท้ายนี้ก็ขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุด กับญาติผู้เสียชีวิตและผู้ประสบภัยทุกท่าน

ปล. เห็นมั้ยครับความสำคัญของข้อมูล เรื่องพวกนี้ถ้าไม่เจอด้วยตัวเองก็ไม่รู้ผมเองเคยเจอมาบ้างแล้ว ข้อมูลงานทั้งหมดหายไปในคลิ๊กเดียว อยากจะร้องให้ คับแค้นใจในความประมาทของตัวเอง แต่ยังดีที่มีสำรองไว้ ข้อมูลที่สำรองไว้ก็ 3 เดือนที่แล้ว เฮ้อ.. ยังดีกว่าไม่เหลืออะไร ตอนนี้ผมเองไม่ไว้ใจอะไรแล้ว สำรองข้อมูลลง Harddisk (Rack) ทุกๆสัปปดาห์ และสำรองข้อมูลลง CD-Rom ทุกเดือน และข้อมูลที่สำรองไว้ต้องมีการทดสอบดูด้วยว่ากู้คืนหรือใช้ได้จริงหรือเปล่า...


ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง

อื่น ๆ เกี่ยวกับไอ.ที.

ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ

  • iPAtS [29 Dec 2004 , 11:17 PM]

    ..ผมเคยลองคิดกันเพื่อนนะ ว่าถ้าตึก CAT ที่ไปรษณีย์กลางเป็นอะไรไป เน็ตประเทศไทยจะเสียหายขนาดไหน

  • Few [29 Dec 2004 , 11:52 PM]

    อ่า ใช่ๆ ถ้ามันเปงไรไปนี่ไม่อยากจะคิดเลย เช่นน้ำเจ้าพระยาเซาะแล้วตึกถล่ม

  • เด็กเดน [14 Oct 2005 , 10:45 AM]

    โห.....น่ากลัวจังอ่ะ อีกหน่อยโลกจะเเตก

  • ป่วนเมล [03 ก.ย. 2551 , 10:33 AM]

    หากบนโลกมีแต่คนเห็นแก่ตัว โลกคงใกล้ถึงวันวิกฤต แหงๆ

  • ป่วนเมล [03 ก.ย. 2551 , 10:40 AM]

    หลายสาเหตุที่ทำให้เกิดคลื่นหลายประเทศ น่ากลัวจังเลย

  • poi [03 ก.ย. 2551 , 10:43 AM]

    จริงดิน่ากลัวสุดๆ อยากให้คนบนโลกเลิกเห็นแก่ตัวสักที