เครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิ และตรวจนับการเต้นของชีพจร 1/2
อัปเดท : 18 พฤษภาคม พ.ศ.2547 , แสดง : 80,141 , ความคิดเห็น : 28
ครับ เครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิ และตรวจนับการเต้นของชีพจร อันนี้เป็น Project ที่ทำครั้งยังศึกษาอยู่ สำหรับ project นี้ความยาก(เอามากๆ)อยู่ที่ต้องนำมาใช้กับ คนจริง ๆ กว่าจะผ่าน ได้ ต้องปรับแต่งกันหลาย ครั้งมาก แค่ออกแบบวงจรให้ตรวจจับสัญญาณครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ออกแบบซะวุ่นเลย สุดท้ายมาจบที่ D-Flip Flop ตัวเดียว นอกจากนี้ แต่คนที่ได้ทดลองใช้ ดู สภาพร่างกายไม่เหมือนกันสักคน โดยเฉพาะส่วนของความดัน ซึ่งตอนที่แพทย์ ตรวจวัดจริงๆ ก็เป็นการประมาณ ที่มี Error ได้ถึง +-10% เพราะ ความดันที่ได้ ขึ้นอยู่กับจังหวะชีพจรในขณะนั้นด้วย ตรงส่วนอื่น ๆ ก็ OK ถ้าจะใช้งานจริง ก็ต้อง ปรับปรุง หลายอย่าง หลังจากเสร็จ รู้สึกว่าได้อะไร หลายๆ อย่างเยอะมากๆ จากการทำ Project
หรับหัวข้อนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย ๆเพราะ เนื้อหาที่นำเสนอ ตัดออกมากแล้ว แต่ก็ยังเยอะอยู่ ส่วนแรก ที่เกี่ยวกับหลักการ ก็คือทฤษฎีเบื้องต้น,ส่วนที่สอง วงจรและการออกแบบ
อุณหภูมิร่างกายและการควบคุม
อุณหภูมิร่างกายของคนมีค่าคงที่คือประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 98.6 องศาฟาเรนไฮน์และอุณหภูมิจะถูกควบคุมให้คงที่อยู่เสมอภายในช่วง 1 องศาฟาเรนไฮน์แม้อุณหภูมิภายนอกร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะร่างกายมีกลไกควบคุมอุณหภูมิที่ดี
1. อุณหภูมิร่างกายปกติ
เมื่อกล่าวถึงอุณหภูมิร่างกายปกติต้องแยกเป็นอุณหภูมิภายในและอุณภูมิผิวนอกซึ่งมีค่าไม่เท่ากัน
1) อุณหภูมิภายใน (Core Temperature) เป็นอุณหภูมิที่อยู่บริเวณกลางของลำตัว ร่างกายต้องทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในให้มีค่าคงที่ตลอดเวลาเมื่อกล่าวถึงอุณหภูมิส่วนนี้
2) อุณหภูมิผิวนอก (Surface Temperature) เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิแวดล้อมแต่เมื่อต้องการทราบถึงความร้อนที่เก็บไว้ในร่างกาย ต้องหาอุณหภูมิเฉลี่ยดังนี้
อุณหภูมิเฉลี่ย = (0.7 * อุณหภูมิภายใน) + (0.3 * อุณหภูมิผิวนอก)
อุณหภูมิร่างกายปกติเมื่อวัดทางปาก (Oral Temperature) จะได้ 37 องศาเซลเซียส แต่ถ้าวัดทางทวารหนัก (Rectal Temperature) จะสูงขึ้นอีก 6 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ดี อุณหภูมิร่างกายของคนปกติสามารถแปรผันไปได้มาก ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่างเช่น ในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก จะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น อาจทำให้อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนักเพิ่มขึ้นได้ถึง 101 – 104 องศาฟาเรนไฮน์ อีกนัยหนึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่เย็นจัดก็อาจทำให้อุณหภูมิทางทวารหนักลดต่ำลงจนลดต่ำกว่า 97 องศาฟาเรนไฮน์ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นได้ หรือเมื่อร่างกายทำงานน้อย เช่น ในภาวะตอนเช้ามืดอุณหภูมิร่างกายก็จะต่ำลงไปได้บ้าง อุณหภูมิร่างกายขึ้นอยู่กับสมดุลระหว่างการเกิดความร้อนและการเสียความร้อนของร่างกาย
รูป การไหลเวียนโลหิตของผิวหนัง
2. ความผิดปกติของการควบคุมอุณหภูมิกาย
อุณหภูมิกายส่วนกลาง (Central Body Temperature) จะมีเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 2 องศาเซลเซียส จากปกติ 37.5 องศาเซลเซียส จะไม่ทำให้การทำงานของร่างกายผิดไปมาก แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นไปอีกจะเกิดภาวะอุณหภูมิสูงเกิน (Hypothermia) ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ผิดไปได้ แต่ถ้าอุณหภูมิกายลดลงจะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะอุณหภูมิต่ำ (Hypothermia) ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบประสาทลดลง
ระบบการวัดความดันโลหิต
1. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Cardio Vascular System)
ในระบบหมุนเวียนโลหิต สามารถแบ่งส่วนใหญ่ ๆ ได้ 2 ส่วน คือ หัวใจ (Cardiac) ซึ่งทำงานเป็นเสมือนแหล่งจ่ายกำลังงานให้โลหิต และอีกส่วนหนึ่งได้แก่ หลอดโลหิต (Bascular) ซึ่งเป็นทางผ่านของโลหิตไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายขณะเดียวกันก็เป็นไฮดรอลิดโหลดแก่ระบบด้วยพลังไฮดรอลิดซึ่งใช้ขับดันโลหิตผ่านไปยังส่วนต่างของร่างกายได้มาจากการบีบตัวของ กล้ามเนื้อหัวใจทุกๆ ครั้งของการเต้นของหัวใจเปรียบได้กับปั๊ม เราสามารถควบคุมโลหิตให้ ไหลผ่านเข้าและขับออกไปโดยตรงควบคุมการเปิด - ปิด ของลิ้นหัวใจ ช่วงการฉีดโลหิตจากหัวใจเรียกว่า Systole และช่วงการสูบโลหิตเข้ามาเรียกว่า Diastole
2. รูปคลื่นแรงดันโลหิต
การไหลของโลหิตในระบบมีลักษณะเป็นห้วงๆ ตามจังหวะการเต้นของหัวใจความดันที่เอาต์พุตของ Ventricle ซ้าย (Aorta) แสดงดังรูป
จากรูปคลื่นแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความดันในช่วง 80 มม. ปรอท ซึ่งเป็นแรงดันต่ำสุด หรือ Diastolic Pressure และ 120 มม. ปรอทซึ่งเป็นแรงดันสูงสุดหรือ Systolic Pressure ความแตกต่างของแรงดันสูงสุด และต่ำสุดเรียกว่า Pulse Pressure ซึ่งในกรณีนี้เท่ากับ 40 มม. ปรอท และแรงดันเฉลี่ย (Mean Pressure) คือ ผลบวกของแรงดันสูงสุดบวกกับ 2 เท่าของแรงดันสุดท้ายหารด้วยสาม ความดันในออร์ต้า ทำให้โลหิตไหลผ่านระบบหมุนเวียน และเมื่อโลหิตไหลในระบบหมุนเวียนจะมีผลสองสิ่งที่ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงบนรูปคลื่น สิ่งแรกคือหลอดโลหิตทั้งหมดจะมีความต้านทานการไหลเท่าใด แรงดันจะลดลงตามระยะทาง ผลประการที่สองที่มีต่อรูปคลื่นเป็นผลจากการที่โลหิตมีแรงเฉื่อย และการยืดหยุ่นตัวของหลอดโลหิต ในทางวงจรไฟฟ้าแรงเฉื่อย และการหยุ่นตัวของหลอดโลหิตเทียบได้กับค่าอินดัคแตนซ์ที่อนุกรมในวงจรและค่าคาปาซิแตนซ์ที่ขนานอยู่ตามลำดับ ผลของแรงเฉื่อยและการหยุ่นตัวของหลอดโลหิตต่อรูปคลื่นความดัน เมื่อโลหิตเคลื่อนผ่านเข้าหลอดโลหิต จะเปรียบได้กับผลของฟิลเตอร์ RLC ที่เกิดขึ้นกับรูปคลื่นสัญญาณ ไฟฟ้า
3. การวัดความดันโลหิต
เป็นแรงดันของโลหิตที่กระทบกับผนังของหลอดโลหิตแดงเมื่อไหลผ่านเป็นจังหวะความดันของโลหิตที่วัดมี 2 อย่างคือ ความดันซิสตอลลิค (Systolic Pressure) ซึ่งเป็นความดันที่เกิดจากการหดตัวของหัวใจด้านล่างซ้าย เพื่อฉีดโลหิตออกจากหัวใจจึงเป็นความดันที่สูงสุด สำหรับความดัน ไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) เป็นความดันที่วัดเมื่อหัวใจห้องด้านล่างซ้ายพัก จึงเป็นความดันที่ต่ำสุดและจะอยู่ในระดับนี้ตลอดเวลาภายในโลหิตแดง ความแตกต่างระหว่างความดันซิสตอลลิคกับความดันไดแอสโตลิค เรียกว่า ความดันชีพจร (Pulse Pressure)
การวัดความดันโลหิตเป็นการวัดถึงการทำงานของหัวใจและแรงต้านทานส่วนปลายของหลอดโลหิตการวัดความดันโลหิตจะวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm.Hg.) ซึ่งหมายถึงแรงดันปรอทขึ้นไปสูงกว่าความดันของบรรยากาศเป็นจำนวนกี่มิลลิเมตร ในผู้ใหญ่จะมีความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120/80 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตอาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากปกติได้ ซึ่งเป็นไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ 1) ความดันโลหิตสูง (Hipertention) โดยทั่วไปให้ถือว่าความดันซิสตอลลิคสูงเกิน 140 มิลลิเมตรปรอทและหรือความดันไดแอสโตลิคสูงเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท 2) ความดันโลหิตต่ำ (Hipotention) โดยทั่วไปให้ถือว่าความดันโลหิตซิสตอลลิคต่ำกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท
4. ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
1) ปัจจัยด้านอายุ เด็กแรกเกิดจะมีความดันซิสตอลลิคประมาณ 40 - 70 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ใหญ่ปกติจะมีความดันซิสตอลลิคระหว่าง 110 - 140 มิลลิเมตรปรอทและความดันไดแอสตอลลิคระหว่าง 60 - 80 มิลลิเมตรปรอท ผู้สูงอายุความดันจะสูงขึ้นเนื่องจากความยืดหยุ่นของหลอดโลหิตลดลง
2) ปัจจัยด้านการออกกำลังกายการออกกำลังกายเป็นการเพิ่มจำนวนโลหิตซึ่งถูกฉีดออกจากหัวใจ ทำให้ความดันสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยที่มีความดันสูงจำเป็นต้องให้พักมากๆ
3) ปัจจัยด้านความเครียดทางอารมณ์และร่างกาย ความเครียดทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว ความเครียดทางร่างกาย เช่น อาการปวดรุนแรงพอประมาณจะมีผลทำให้เพิ่มความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปกระตุ้นระบบประสาท ซิมพาทีติค ผลคือจะไปเพิ่มจำนวนโลหิตที่ออกจากหัวใจและทำให้หลอดโลหิตแดงรองหดตัว แต่ถ้าหากมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือเกิดภาวะช็อค ศูนย์บังคับหลอดโลหิตจะถูกยับยั้งทำให้หลอดโลหิตขยายตัว ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
4) ปัจจัยด้านอื่นๆ
4.1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเพศ หลังจากพ้นระยะวัยรุ่นไปแล้วพบว่าเพศชายจะมีความดันโลหิตสูงกว่าหญิงเล็กน้อย
4.2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับรูปร่าง คนอ้วนความดันโลหิตสูงกว่าคนผอม
4.3) ปัจจัยที่เกี่ยวกับประเภทของโรค โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียน และโรคไตจะทำให้ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหัวใจจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ
4.4) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้ยา ยาที่มีผลต่อการหดรัดตัวของหลอดโลหิตจะทำให้ความดันโลหิตสูงตรงข้ามกับยาขยายหลอดโลหิตจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ
4.5) ปัจจัยที่เกี่ยวกับท่าทาง หากอยู่ในท่านอน ความดันโลหิตจะต่ำกว่าในท่านั่งหรือยืน
4.6) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม อาหาร และเครื่องดื่มบางชนิดจะเพิ่มความดันและบางชนิดลดความดัน
5. การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตในห้องหัวใจ และในหลอดโลหิต จะทำให้แพทย์ทราบถึงฟังก์ชั่นการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยดูจากขนาด และรูปคลื่น การวัดความดันโลหิตกระทำได้ 3 แบบคือแบบโดยตรง (Direct หรือ Invasive) แบบโดยอ้อม (Indirect หรือ Non Invasive) และแบบสัมพันธ์ (Relative หรือ Uncalibrated Indirect)
1) การวัดแรงดันโลหิตแบบโดยตรง สำหรับการวัดความดันโลหิตในหลอดโลหิตความดันภายในหลอดโลหิต จะส่งผ่านโลหิตที่บรรจุเต็มในแคทิเตอร์ และส่งแรงดันผ่านไปยังไดอะแฟรม ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ แรงดันที่ส่งผ่านไดอะแฟรมจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าโดยทรานสดิวเซอร์ความดัน หรือนำไปเข้า มาโนมิเตอร์ ที่ใช้น้ำเกลือเป็นตัวส่งผ่านแรงดัน การตอบสนองความถี่ของการวัดโดยวิธีนี้ จะถูกจำกัดที่ตัวแคทิเตอร์เอง และการที่มีฟองอากาศอยู่ภายในแคทิเตอร์ ตลอดจนคุณสมบัติของสารที่ใช้ทำไดอะแฟรม และชนิดของ ทรานสดิวเซอร์ที่ใช้
2) การวัดความดันโลหิตทางอ้อม การวัดแรงดันโลหิตทางอ้อมจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Sphygmomanometer จะถูกอัดอากาศเข้าไปโดยการบีบลูกยางซึ่งแรงดันในคัฟจะไปกดหลอดโลหิตแดงทำให้โลหิตหยุดไหล โดยปกติการอัดอากาศเข้าไปจะให้ความดันในคัฟอยู่สูงกว่าแรงดันสูงสุดที่คาดว่าจะมีในเส้นโลหิตนั้น แล้วค่อยๆ ลดความดันในคัฟลงอย่างช้าๆ และเมื่อความดันในคัฟลดลงเท่าแรงดันสูงสุดในหลอดโลหิตจึงทำให้โลหิตเริ่มฉีดผ่านไปได้ การที่โลหิตฉีดผ่านหลอดโลหิตแคบๆ จะทำให้เกิดเสียงของการฉีดขึ้นเรียกว่าเสียง Korot Koff ซึ่งสามารถฟังได้โดยใช้สเต็ตโตสโคป และเมื่อทำการลดความดัน ในคัฟต่อไปจนแรงดันเท่ากับแรงดันต่ำสุดเสียง Korot Koff จะหายไป และโลหิตจะเริ่มไหลได้ตามปกติ แรงดันในคัฟที่อ่านได้เกิดเสียง Korot Koff ครั้งแรกจะใกล้เคียงกับแรงดัน ซีสโตล และแรง-ดันที่ผ่านได้เมื่อได้ยินเสียง Korot Koff สุดท้ายจะใกล้เคียงกับแรงดันไดแอสโตล
รูป การวัดแรงดันโลหิตโดยอ้อม
รูปลักษณะของเครื่องวัดความดันโลหิตทางอ้อม
3) การวัดความดันโลหิตแบบสัมพันธ์
หลักการของการวัดความดันโลหิตแบบสัมพันธ์ คือการวัดแรงดันภายนอกผิวหนังที่ส่งผ่านมาจากแรงดันของโลหิต ในหลอดโลหิตผ่านผนังหลอดโลหิต และผิวหนังเรียกหลักการนี้ว่า โทโนมิเตอร์ ความดันโลหิตจะเป็นสัดส่วนกับแรงกดบน Arterial Rider หารด้วยพื้นที่หน้าตัด จากลักษณะของ โทโนมิเตอร์จะเห็นว่าความดันที่อ่านได้จะมากกว่าความดันในหลอดโลหิตเสมอทั้งนี้เพราะจะมีแรงกดโดยผิวหนังเกิดขึ้นด้วย ดังนั้นการวัดความดันด้วยวิธีนี้ จะต้องทำการ คาริเบตเป็นราย ๆ ไปก่อนเพื่อให้การวัดได้ค่าที่ถูกต้อง การใช้งานทั่วไปจะใช้แบบทางอ้อม โดยที่พันแขนสำหรับเครื่องวัดความดันมีขนาดต่างกัน ของผู้ใหญ่จะกว้างประมาณ 12 – 14 เซนติเมตร สำหรับของเด็กจะเล็กกว่า คือ เด็กอายุ 7 – 12 ปี กว้างประมาณ 9 – 10 เซนติเมตร เด็กอายุ 2 – 6 ปีกว้างประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร เด็กอายุขวบปีแรกกว้างประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร บางชนิดใช้ขอเกี่ยวบางชนิดใช้พันแล้วม้วนเหน็บไว้ บางชนิดเป็นเทปสักหลาด เครื่องวัดความดันบางชนิดเป็นเครื่องไฟฟ้า ซึ่งไม่ต้องใช้เครื่องฟังตรวจ ตัวเลขของ ความดันจะปรากฎบนจอภาพเหมาะสำหรับผู้ป่วยหนักที่ต้องตรวจสอบอยู่บ่อยๆ ในการวัดความดันที่ต้องใช้เครื่องฟังตรวจนั้น พยาบาลจะได้ยินเสียงเป็นลำดับ ครั้งแรกเมื่อพันแขนด้วยผ้าพันแขนแล้วบีบลมเข้าจนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าโลหิตหยุดไหลผ่าน หลอดโลหิตแดง เมื่อปล่อยความดันลมออกความดันในผ้าพันแขนจะลดลงจนกระทั่งโลหิตไหลผ่านอีก ณ จุดที่เสียงดังเริ่มแรกนั้นเป็นจุดที่หัวใจห้องล่างด้านซ้ายหดรัดตัวฉีดโลหิต เสียงที่ได้ยินครั้งแรกเรียกว่าความดันซิสตอลลิค ในขณะที่ความดันในผ้าพันแขนลดลงเสียงจะเปลี่ยนไปไม่ชัดเจนและในที่สุดจะเงียบไป ซึ่งถือว่าเป็นความดันในหลอดโลหิตแดงในขณะที่หัวใจห้องล่างด้านซ้ายพัก จุดที่เสียงเริ่มเปลี่ยน หรือจุดที่เสียงเงียบหายไปคือจุดแสดงความดันไดแอสตอลลิค ในขณะที่หลอดโลหิตแดงปกติ ความดันไดแอสโตลิคที่แท้จริงจะอยู่ต่ำกว่าจุดเริ่มเปลี่ยนแปลงเสียง 10 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งก็เป็นตำแหน่งเดียวกับที่เสียงหายไป สำหรับผู้ป่วยซึ่งมีหลอดโลหิตแดงกระด้างเสียงจะเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากถึงจุดความดันไดแอสโตลิคแล้วเล็กน้อย โดยสรุปในการวัดความดันโลหิตให้ถือปฏิบัติดังนี้คือ
3.1) ความดันซิสตอลลิค จุดแรกเมื่อเริ่มได้ยินเสียงครั้งแรก
3.2) ความดันไดแอสโตลิค จุดสุดท้ายที่เสียงเริ่มเปลี่ยนหรือเสียงหายไป ตำแหน่งที่วัดความดันโลหิตโดยทั่วๆ ไปวัดที่หลอดโลหิตแดงที่ข้อพับแขน (Brachial Artery) หากมีเหตุจำเป็นวัดบริเวณนี้ไม่ได้ ให้วัดที่หลอดโลหิตแดงที่ข้อพับเข่า (Popliteal Artery)
การตรวจจับชีพจร
ชีพจรเป็นแรงสะเทือนของกระแสโลหิต ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่างด้านซ้าย ทำให้ผนังของหลอดโลหิตแดงขยายออกเป็นจังหวะ เป็นผลให้สามารถจับชีพจรได้ตลอดเวลาบริเวณที่สัมผัสได้ คือส่วนผิวของร่างกายที่มีหลอดโลหิตแดงผ่านเหนือหรือข้างๆ กระดูก โดยมากเรียกชื่อชีพจรตามตำแหน่งของหลอดโลหิตที่จับได้
รูป ที่อยู่ของชีพจรในร่างกาย
สิ่งที่ต้องสังเกตในการจับชีพจร
อัตราความเร็วของชีพจร หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที มีปัจจัยต่างๆที่ทำให้อัตราความเร็วของหัวใจแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ คือ
1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับอายุ สามารถแสดงอัตราการเต้นของชีพจรเป็นจำนวนครั้ง/นาที โดยเทียบตามอายุหรือวัย
2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเพศ ผู้หญิงจะมีความเร็วกว่าชายเล็กน้อยในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
3) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย โดยปกติชีพจรจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้ออกกำลังกายเนื่องจากในระหว่างการออกกำลังกาย กล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น จึงทำให้การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้นำออกซิเจนไปกับกระแสโลหิต
4) ปัจจัยที่เกี่ยวกับอารมณ์ อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นอยู่กับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมี 2 ส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาทีติค และพาราซิมทีติค อารมณ์ที่เกิดขึ้นเช่น ความกลัว ความโกรธ ความวิตกกังวล การรับรู้ความเจ็บปวด จะไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาทีติคทำให้หัวใจ บีบตัวเร็วขึ้นสำหรับการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมทีติคทำให้หัวใจเต้นช้าลง เช่น ดิจิทาลิส มักใช้ในรูปของ มักใช้ในรูปของยาเพื่อกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาทีติค โดยเฉพาะประสาท เวกัส หากหัวใจเต้นเร็วเกิน 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไปในผู้ใหญ่ ถือว่าชีพจรเต้นเร็ว ในทางตรงกันข้ามถ้าหัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าชีพจรเต้นช้า
5) ปัจจัยที่เกี่ยวกับอุณหภูมิความร้อน การนำความร้อนมาใช้ภายนอกร่างกายเป็นเวลานานๆ ก็เช่นเดียวกับ ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายคือมีไข้ขึ้นนั้น จะทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น และ ชีพจรจะเร็วขึ้นเมื่อความดันของโลหิตลดลงจากผลของหลอดโลหิตส่วนปลายขยายออกเมื่อถูก ความร้อน
6) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้ยา ยาบางชนิดลดอัตราความเร็วของชีพจรและบางชนิดเพิ่มอัตราความเร็วของชีพจร
7) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการตกโลหิต การสูญเสียโลหิตจากระบบหลอดโลหิตประมาณ 10% ของจำนวนโลหิตทั้งหมด (จำนวนโลหิตทั้งหมดในระบบหลอดโลหิตของผู้ใหญ่มีประมาณ 5 ลิตร) จะทำให้ชีพจรเร็วขึ้น
8) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้ท่าทาง เมื่ออยู่ในท่ายืนชีพจรจะเร็วกว่าเมื่ออยู่ในท่านั่งหรือนอน ทั้งนี้เพราะหัวใจต้องบีบตัวให้เร็วขึ้นเพื่อฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย
9) ปัจจัยเกี่ยวกับจังหวะชีพจร ชชีพจรจะเต้นเป็นจังหวะ มีช่วงพักระหว่างจังหวะแต่ละช่วงพักใช้เวลาเท่ากัน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ชีพจรสม่ำเสมอ ส่วนชีพจรที่เต้นไม่เป็นจังหวะแต่ละช่วงพักไม่สม่ำเสมอเรียกว่าชีพจรไม่สม่ำเสมอ
10) ปัจจัยเกี่ยวกับปริมาตรชีพจร ขึ้นอยู่กับแรงของโลหิตในการกระทบชีพจรปกติรู้สึกได้ด้วยการกดนิ้วลงตรงบริเวณที่จะวัดด้วยแรงพอประมาณ แต่ถ้ากดแรงมากไปจะไม่ได้รับความรู้สึก ถ้าแรงดันโลหิตดีชีพจรจะแรง แรงดันโลหิตอ่อนชีพจรจะเบา
11) ปัจจัยเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของผนังของหลอดโลหิตแดง ปกติผนังของหลอดโลหิตจะตรงและเรียบ มีความยืดหยุ่นดี ในคนที่สูงอายุผนังหลอดโลหิตแดงมีความยืดหยุ่นน้อย ขรุขระ และไม่สม่ำเสมอ
ตอนที่ 2 >>
ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง
อื่น ๆ เกี่ยวกับไอ.ที.
เมกะไบท์ กิกะไบท์ เทราไบท์ แล้วต่อไปจะเป็นอะไร ?
Trend of technology จะพูดถึง แนวทางของ Bus ในอนาคต
Trend of technology จะพูดถึง แนวทางของ Bus ในอนาคต
ครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิ และตรวจนับการเต้นของชีพจร
คิดว่าหลายท่านที่ติดตามข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ในช่วงปีกว่ามานี้ คงจะได้ยินคำว่าสภาวะโลกร้อนหรือ Global Warming
จะเลือกจอ CRT หรือ LCD ดี? คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่หลายๆคนถามหา เมื่อจะเลือกซื้อจอใหม่
การใช้งานเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มีประสิทธิภาพสูง
ระบบเสมือนจริงนับเป็นการใช้ประโยชน์จากการแสดงผลด้วยสื่อประสม สร้างภาพ 3 มิติที่สามารถมองเห็นเหมือนเป็นภาพที่เป็น 3 มิติ
เอาดิสก์หลายๆตัวมารวมกัน ประสิทธิภาพที่ได้จากการใช้งานจะมากกว่า
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย แต่ในอนาคตอันใกล้นี้
ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ
- นายไพศาล ทุมมาศ [11 Nov 2004 , 03:10 PM]
ตอนนี้กระผมกำลังศึกษาอยู่เรียนวิศวอิเล็กทรอนิกส์อยู่และกำลังหาโปรเจ็คอยู่ครับ ผมอยากจะได้ข้อมูลโดยละเอียดไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เขียนลงใน MCS 51 ด้วยครับ อยากได้เร็วที่สุดครับเพราะอาจารย์เร่งมากครับผม ขอบคุณครับ
- จักรกฤษณ์ [18 Nov 2004 , 09:08 AM]
ข้อมูลที่เก็บใน CD ไว้ตอนนี้มันอ่านไม่ได้ซ่ะแล้ว มีข้อมูลอยู่แผ่นอื่นแต่ยังหาไม่เจอ การเขียนโปรแกรมมันอยู่ที่ว่าปัญหามันคืออ่ะไร แล้วจะเขียนยังงัยเพื่อแก้ปัญหา หรือมี Input อย่างเนี้ยต้องการ Output แบบเนี้ย ต้องเขียนยังงัย ถ้าเขียนได้แล้วคุณจะรู้ว่า Project ให้อะไรๆ มากกว่า Sourcecode ..
- นุ้ย [23 Nov 2004 , 07:18 PM]
ดีมีสาระ
- ปัญญา [23 Dec 2004 , 10:08 AM]
เครื่องอ่านอุณหภูมิใช้ Sensor PT 100 เขียนใครมีข้อมูลช่วยหน่อยครับ
- ขัยวัฒน์ แท่นจินดารัตน์ [12 Jul 2005 , 07:45 PM]
ผมขอข้อมูลทั้งหมดได้ไหมครับ ผมทำรายงานเรื่อง mcs51 อยากได้มากครับเป็นprojectที่ดีมาก ขอความกรุณาครับ ขอเร็วมากๆ
- ชัยวัฒน์ แท่นจินดารัตน์ [12 Jul 2005 , 07:47 PM]
ผมขอข้อมูลทั้งหมดได้ไหมครับ ผมทำรายงานเรื่อง mcs51 อยากได้มากครับเป็นprojectที่ดีมาก ขอความกรุณาครับ ขอเร็วมากๆนะครับขอบพระคุณมากจริง
- กลยุทธ [25 Jul 2005 , 03:09 PM]
คือผมสนใจProject ของคุณมากนะครับอยากได้ข้อมูลการทำได้ไหมครับ ตอบกลับด้วย
- ภาคภูมิ เรืองแก้ว [03 Aug 2005 , 05:36 AM]
ตอนนี้กระผมกำลังศึกษาอยู่เรียนวิศวอิเล็กทรอนิกส์อยู่และกำลังทำโปรเจ็ค เรื่องเครื่องวัดตรวจนับการเต้นของชีพจร อยู่ครับ ผมอยากจะได้ข้อมูลโดยละเอียด อยากได้เร็วที่สุดครับเพราะอาจารย์เร่งมากครับผม ขอบคุณครับ
- chutima [06 ธ.ค. 2548 , 07:51 PM]
ต้องการเครื่องวัดความดันจำนวน 100 เครื่อง/เดือนในราคาส่ง ช่วยส่ง mail หรือโทรกลับ 09-4880407
- Suchart Sununkingpet [06 ม.ค. 2549 , 10:31 AM]
ผมศึกษาอยู่สาขาคอมพิวเตอณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกำลังทำโปรเจคจบเกี่ยวกับ SDCC of MCS51 อยากขอให้ผู้ที่มีความรู้ช่วยส่งข้อมูลมาให้หน่อยนะครับ เพราะตอนนี้ผมกำลังทำเป้นตัวต้นแบบฉบับของคนไทยเอง เพื่อให้นักศึกษารุ่นน้องได้ใช้งานครับ
- นาย จิรศักดิ์ ภูมิฐาน [06 ก.พ. 2549 , 12:41 AM]
ตอนนี้ผมก็กำลังทำโครงงานเกี่ยวกับเครื่องวัดอุณหภูมิอยู่ เลยอยากจะขอ ซอร์ตโค้ด ที่ใช้ เขียนลงใน mcs 51 ด้วยครับ ถ้าได้รึไม่ได้ขอให้เมล์กลับด้วยครับ กำลังปวดหัวเลยครับ ขอบคุณครับ
- supawit treewisawawet [19 มี.ค. 2549 , 10:12 PM]
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาภาคนิพนธ์เกี่ยวกับเก้าอี้ที่สามารถแสดงสีสันตามอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์เมื่อได้นั่งเก้าอี้ตัวนี้บวกกับสามารถฟังเพลงจากการการเชื่อมต่อ USB เข้ากับตัวเก้าอี้ได้ ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีประเภทนี้หรือเปล่าครับ ผมเคยไปถามแถวคลองถมแล้ว แต่เขาบอกว่าไม่รู้จัก
- Pun [20 เม.ย. 2549 , 09:19 AM]
ผมกำลังจะทำโปรเจคเรื่องนี้อยู่เลยครับ แต่ยังไม่ค่อยมีความรู้และประสบการณ์เท่าไหร่ อยากจะขอข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียดในส่วนของวงจรและอุปกรณ์ความดันเลือด ยังไงช่วยติดต่อกลับด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
- หมอก [06 พ.ค. 2549 , 03:14 PM]
ใช้โปรแกรมอะไรเขียน PC แสดงผลครับ ผมทำโปรเจคเกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิแบบไร้สายใช้ ds1820 แต่อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับ PC ช่วยแนะนำหน่อยครับ
- ณัฐพล [16 พ.ค. 2549 , 04:11 PM]
มีเครื่องเบิร์น 51 เบอร์ AT89S8252 ไหม ราคาเท่าไหร่
- โนช [21 มิ.ย. 2549 , 10:29 PM]
พี่ครับตอนนี้ผมทำโปรเจคเหมือนพี่เลยคือเครื่องวัดสัญญานชีพทั้ง 3 อย่างเนี่ยะเเหละคือตอนนี้ทางกลุ่มกำลังปวดหัวเครื่องวัดความดันมากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร คือตอนนี้ยังอยุ่ที่ 0 เปอเซ้นอยู่เลยครับยังไงพี่ก็ช่วยเเนะนำเเนวทางหน่อยนะครับเพราะผมติดไอได้เเค่เทอมนี้เทอมเดียวเอง ถ้าพี่ช่วยเเนะนำเเนวทางสว่างให้ผมผมจะไม่ลืมพระคุณพี่เลยครับ ถ้ามาเชียงใหม่เมื่อไรจะ ปมจะเป็นไกด์เเละเลี้ยงดูปูเสื่อพี่อย่างดีเลยครับ จากคนหมกหนทางสู้
- bunjng [07 ก.ค. 2549 , 03:03 PM]
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุม MCS_51 หลายๆตัวโดยตัวหนึ่งเป็นตัว Mater และอีกตัวเป็นตัว slave1,slave2,....slave3 ทำอยางไรครับ ขอบคุณครับ
- ฟิล์ม [23 ก.ค. 2550 , 11:33 AM]
อยากได้ตัวโปรแกรมคับเพราะว่าอยากทำโปรเจคนี้อยู่ต้องการด่วนคับยังไงบอกด้วยนะคับ
- ไปร์ส [29 พ.ค. 2551 , 02:14 PM]
มีสาระดี
- สุนันทา [21 มิ.ย. 2551 , 06:03 PM]
ดิฉันกำลังทำ Project เกี่ยวกับความดันอยู่คะ อยากจะได้ข้อมูลอย่างละเอียดได้ไหมคะ ขอบคุณคะ
- Phumiphat [17 ธ.ค. 2551 , 10:06 AM]
ผมกำลังทำ Project เดียวกับอันนี้อยู่แต่ว่าติดเรื่องของอุปกรณ์บางตัว.... แล้วตอนนี้ยังไม่ถึงไหนเลยเพราะวงจรเหมือนไม่ตรงกัน... และผมทำเป็นจอ LCD ตอนนี้ไม่มีซอร์ตโค้ดที่จะเขียน... พี่หรือใครก็ได้ช่วยที่ครับ จะเป็นพระคุณอย่างมากเลย... ติดต่อกลับได้ที่ 083-770-1495 [email protected]
- aom [25 ธ.ค. 2552 , 02:11 AM]
มีข้อมูลเช่น ความสำคัญ หลักการทำงาน คุณสมบัติ ย่านการวัด อุปกรการวัด นิยามศัพท์ไหมค่ะ ขอหน่อย สำคัญมากที่พี่ทำรูปเล่มค่ะ
- อรปรียา อัครศิริกาญกุล [03 ก.ค. 2553 , 08:56 PM]
ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ เเต่น่าจะมีสาระที่เยอะเเละระเอียดกว่านี้ช่วยเพิ่มให้ด้วยน่ะค่ะ ขอบคุนมากค่ะ
- นวรัตน์ [02 ก.พ. 2554 , 02:35 PM]
เครื่องวัดความดันโลหิตเด็กเครื่องละประมาณเท่าไรค่ะ
- phin [22 เม.ย. 2554 , 08:37 AM]
อยากทราบว่าเวลาวัดความดันด้วยเครื่องอัตโนมัติแล้วแสดงค่า error บ่อยมากเป็นเพราะอะไร ใครพอทราบช่วยบอกหน่อยครับ
- นริศรา ทองแพทย์ [20 มิ.ย. 2554 , 04:29 PM]
พี่ค่ะตอนนี้หนูอยู่ปี4แล้วหนูอยากทำเครื่องเดียวกับพี่เลยอ่ะ หนูขอรายละเอียดของตัวเครื่องหน่อยได้ไหมค่ะเพราะหนูไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรอ่ะค่ะ ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ
- bell [20 มิ.ย. 2554 , 04:32 PM]
พี่ค่ะหนูสนใจโปรเจคของพี่อ่ะ หนูอยากได้ไปทำโปรเจคอ่ะ พี่ช่วยแนะนำหนูหน่อยหนูไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงอ่ะค่ะ
- อัสมา [22 ก.ย. 2554 , 09:19 AM]
ปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิและการสัมผัสอยู่ในส่วนใดของผิวหนัง