ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality [[[[sys]]]]tem -VR)


อัปเดท : 31 สิงหาคม พ.ศ.2551 , แสดง : 94,508 , ความคิดเห็น : 3

ขณะนี้โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของสภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นเขตแดนบุกเบิกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 เราจะพบว่า ประกอบด้วยถนนอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งมีทั้งนิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) และบริการสารสนเทศต่างๆ รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเอกชนอีกมากมาย คำว่า ทางด่วนสารสนเทศ นั้นมักใช้อ้างถึงระบบเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในปัจจุบัน บางครั้งก็มีการใช้คำว่า โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศ (National Information Infrastructure) บางครั้งสื่อมวลชนก็ใช้คำว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ในเขตแดนใหม่ที่กล่าวถึงนี้ มีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราเคยรู้จักอยู่ทั้งในด้านบันเทิง การศึกษา ธุรกิจ ฯลฯ และมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาอีกหลายอย่างที่จะต้องมีการแก้ไขกันต่อไป เช่น ในเรื่องการละเมิดกฎหมาย หรืออาชญากรรมที่กระทำผ่านไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ในอนาคต กิจกรรมในชีวิตประจำวันแทบทุกอย่างของมนุษย์ทีอาศัยอยู่ในสังคมสมัยใหม่จะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการประยุกต์ใช้วิชาการหุ่นยนต์ (Robotics) ที่ว่าด้วยการใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานโต้ตอบกันเป็นภาษาพูดของมนุษย์(Human Language Interaction) การที่ต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นจะหมดไป

ระบบเสมือนจริง คือ ระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียวหรือหลายคนที่เคลื่อนย้ายหรือ โต้ตอบในสิ่งแวดล้อมที่จำจองมาโดยคอมพิวเตอร์ ระบบเสมือนจริงจะต้องมีอุปกรณ์ที่พิเศษในการมอง การได้ยิน การสัมผัสจากโลกที่จำลองขึ้น และอุปกรณ์ที่ใช้จะต้องสามารถที่จะบันทึก และส่ง พูด หรือเคลื่อนไหวได้ในโปรแกรมที่ทำให้เกิดการจำลอง

ระบบเสมือนจริงนับเป็นการใช้ประโยชน์จากการแสดงผลด้วยสื่อประสม การสร้างภาพ 3 มิติที่สามารถมองเห็นเหมือนเป็นภาพที่เป็น 3 มิติจริงๆ โดยใช้อุปกรณ์พิเศษเช่นแว่นตา 3 มิติเข้าช่วย ประกอบกับการใช้อุปกรณ์สำหรับการรับข้อมูลจากการเคลื่อนไหว ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality – VR.) เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นได้ตอบสนองการสั่งการด้วยวิธีปฏิบัติของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้จะสามารถรับรู้ได้เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตรวจรับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้ นำไปประมวลผลและแสดงผลให้ผู้ใช้เห็นตอบสนองการเคลื่อนไหวนั้นโดยเหมือนภาพจริง และอาจเพิ่มความรู้สึกอื่นเช่นแรงตอบสนอง หรือความเคลื่อนไหวของสิ่งแวดล้อม ประกอบให้เหมือนจริงมากขึ้นได้อีกด้วย

  
 
ระบบเสมือนจริงถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างที่สำคัญเช่น ด้านการฝึกอบรม ระบบฝึกผ่าตัดสำหรับแพทย์ นักเรียนแพทย์สามารถใช้ระบบนี้เพื่อเรียนรู้การผ่าตัดโดยใส่ถุงมือซึ่งจะส่งสัญญาณการเคลื่อนไหวกลับไปคอมพิวเตอร์ นักเรียนแพทย์สามารถจะเห็นภาพห้องผ่าตัดที่มีเตียง เครื่องมือ และคนไข้ได้จากแว่น 3 มิติซึ่งถูกส่งภาพมาจากคอมพิวเตอร์ เมื่อนักเรียนแพทย์ขยับมือไปหยิบเครื่องมือที่เห็นในจอภาพ โดยที่ไม่มีเครื่องมือนั้นอยู่จริง สามารถนำเครื่องมือนั้นทำการผ่าตัดคนไข้บนจอภาพ และระบบเสมือนจริงยังอาจส่งแรงต้านเมื่อมีดผ่าตัดกดลงบนเนื้อคนไข้ ให้นักเรียนแพทย์ได้รู้สึกจากถุงมือได้ด้วย การใช้ระบบเสมือนจริงเช่นนี้ทำให้นักเรียนแพทย์สามารถเรียนรู้วิธีการผ่าตัดโดยสามารถฝึกหัดได้จากระบบเสมือนจริงบ่อยครั้งมากกว่าเดิมที่ต้องทดลองกับครูใหญ่ (ศพที่มีผู้บริจาคเพื่อการศึกษา) เจเนอรัลมอเตอร์และฟอร์ด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ได้สร้างรถยนต์เสมือนจริงที่ให้ลูกค้าได้ทดลองขับขี่รถยนต์ ซึ่งจะเห็นภาพของสถานที่แวดล้อมที่มีการขับรถยนต์ผ่านไปพร้อมกับความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับการได้นั่งขับรถยนต์อยู่จริงๆ ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างของการใช้ระบบเสมือนจริงเพื่อการฝึกอบรมปฏิบัติ

นอกจากการนำไปใช้สำหรับการฝึกปฏิบัติแล้ว เกมคอมพิวเตอร์ก็ได้นำระบบเสมือนจริงไปสร้างเป็นเกมให้ผู้เล่นสามารถจับอาวุธ หรืออุปกรณ์เช่นเครื่องควบคุมยานอวกาศ เป็นเครื่องมือที่จะส่งความเคลื่อนไหวเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และมองเห็นภาพของการสู้รบได้แบบสามมิติที่เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง และยังอาจสร้างเครื่องมือเฉพาะที่อาจทำให้รู้สึกสั่นสะเทือน หรือมีแรงหน่วงเมื่อเกิดการเลี้ยวโค้ง ฯลฯ ได้ ทำให้เกิดความบันเทิงในการเล่นเกมที่สมจริงสมจังมากยิ่งขึ้น

รายการของงานที่คาดว่าจะมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากได้แก่

1. งานประยุกต์ที่อาศัยความจริงเสมือน (Virtual Reality Applications)

- เกม (Games) เช่น เกมส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ Counter Strike ซึ่งเป็นเกมส์แนว Action ที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเหมือนว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ

- นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) ที่ใช้สร้างเครื่องจักรขนาดจิ๋วระดับโมเลกุลของสสาร เช่น อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ในอนาคตการผ่าตัดแบบดั้งเดิม อาจเปลี่ยนไปเป็นการผ่าตัดระดับนาโน (nanosurgeons) โดยการควบคุมหุ่นยนต์นาโน (nanorobots) เข้าไปตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง หรือไวรัสที่ต้องการโดยไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์อื่น

- เครื่องมือฝึกอบรม (Training Tools) ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

- การบินไทยได้นำเทคโนโลยี “เครื่องจำลองการบิน " หรือ Aviation Simulation เพื่อเป็นการฝึกปรือให้นักบินมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งนักบินถือเป็นอาชีพหนึ่งแต่อาจจะแตกต่างกับหลายๆ อาชีพก็ตรงที่ การบินต้องเตรียมพร้อมและต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทุกรูปแบบ แม้ว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน จะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยมากที่สุดก็ตาม ดังนั้นการฝึกบินจึงต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

- บริษัท ST Software คิดค้นเครื่องหัดขับรถเสมือนจริง (Driving Simulator) เพื่อให้ผู้ที่เริ่มขับรถเข้าใจทั้งการใช้เกียร์ สัญญาณไฟการเลี้ยวเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานก่อนการออกถนนจริง อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยมากว่าการหัดขับบนถนนจริงๆอีกด้วย

-กองทัพ (Military) เช่น บริษัท Microsoft ได้คิดค้น Software ที่ชื่อ Flight Simulator 2004 A Century of Flight เพื่อใช้สำหรับการฝึกนักบิน

-การแพทย์ (Medical) เช่น โรงพยาบาลพญาไท แผนก Surgery Clinic ซึ่งนำเทคโนโลยีกล้อง microscope มาประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดหรือการศัลยกรรมเสริมสวยต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายที่ยากต่อการเข้าถึงและยังลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

2. การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Learning)

- การเรียนทางไกล (Distance Learning) เช่น E-Learning ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสอนซึ่งนักศึกษาสามารถเรียนวิชาต่างๆผ่านทาง Internet และยังอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาอย่างมากเพราะสามารถซักถามข้อสงสัยและโต้ตอบได้ทันทีเหมือนกับการเรียนในห้องเรียน

- การเรียนโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วย (Technology Aided Learning) เช่น "จะต้องมีการพัฒนาใน 3 ส่วน คือ การพัฒนาระบบ MIS หรือ Management Information [[[[sys]]]]tem ซึ่งจะเน้นการรายงานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ระบบ DSS หรือ Decision Support [[[[sys]]]]tem เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และระบบ EIS หรือ [[[[exec]]]]utive Information [[[[sys]]]]tem เน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อกำหนดนโยบายการบริหาร

3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce; E-commerce) เช่น เวบไซด์ต่างๆที่ทำการซื้อขายสินค้าผ่านทาง Internet

4. หุ่นยนต์ (Robots) คนรับใช้ไซเบอร์ (Cyber maid) รถยนต์ที่ไม่ต้องใช้คนขับ (Driverless Cars) เช่น ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทำหารคิดค้นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นซีเคียวริตี้โรบอท (Security Robot) ที่พัฒนาต่อยอดเสริมลูกเล่นให้มีความฉลาดเพิ่มขึ้น และพัฒนาวิธีการควบคุมหุ่นยนต์ จากการบังคับด้วย Joystick มาเป็นบังคับโดยถุงมือรับข้อมูล (Data Glove) เพื่อให้ง่ายต่อการบังคับทิศทางและเป็นการควบคุมที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ แล้วส่งข้อมูลที่ต้องการผ่านอุปกรณ์ไร้สายไปยัง คอนโทรลเลอร์ ซึ่งติดตั้งอยู่กับตัวหุ่นยนต์ สำหรับประมวลผลสัญญาณ เพื่อสั่งให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการ นอกจากนั้นหุ่นยนต์ยังสามารถส่งภาพจากกล้องดิจิตัลที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนของหุ่นยนต์ มายังเจ้าหน้าที่ ควบคุม แล้วนำข้อมูลและภาพที่ได้รับมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน นาฬิกา นอกจากถุงมือแล้ว ยังได้นำหมวก Head Mounted Display (HMD) มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของหุ่นยนต์ โดยผู้บังคับหุ่นยนต์เมื่อสวมหมวก HMD แล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังขับหุ่นยนต์ด้วยตัวเอง ภาพที่เห็นก็เหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด

5. การเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language Understanding) การรับรู้คำพูด (Speech Recognition)

6. โทรศัพท์ภาพ (Videophone) การประชุมทางไกล (Video Conference) สำนักงานแบบเสมือน (Virtual Office) โทรเวช (Telemedicine) เช่น MSN Messenger ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่บริการความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานเมื่อต้องการประชุมทางไกลหรือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถมาประชุมร่วมกันในห้องประชุมได้

7. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ไปรษณีย์เสียง (Audio Mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail) การแพร่ข่าวบนเว็บ (Web Multicast) การกระจายข่าวบนเว็บ (Web Broadcast)

8. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) ห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) วิดีโอตามความต้องการ (Video On Demand - VOD) เช่น การนำ Virtual Reality มาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่สถานที่ที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นครั้งแรก เช่น พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังบางปะอิน และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นต้น

9. คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ได้ (Wearable Computers) เน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์ (Network Computer) เน็ตเวิร์กพีซี (Network PC) เว็บทีวี (Web TV) เช่น Interactor Vest ซึ่งเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมส์ให้มันส์มากยิ่งขึ้นทั้งการถูกทุ่มหรือการเตะต่อยโดยผู้เล่นต้องสวมเครื่องนี้ไว้ที่หลัง

10. บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (E-greeting Cards) การพิมพ์แบบซอฟต์ก๊อบปี้ (Softcopy Publications) แค็ตตาล็อกสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalogs) ข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (E-news) การโฆษณาบนเว็บ (Web Advertising) เช่น การ์ดอวยพรวันเกิดอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อทางด่วนสารสนเทศครอบคลุมแพร่หลายไปในที่ต่างๆ ในช่วงสิบปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 เราคงคาดได้ว่า การเข้าถึงสารสนเทศทั้งหลายในห้องสมุดขนาดใหญ่จะสามารถทำได้โดยตรงจากที่บ้าน คือ มีห้องสมุดอิเล็กทรอกนิกส์ (Electronic Library) อยู่ในบ้านเลยทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปค้นเอกสารหรือหนังสือที่ห้องสมุด ซึ่งอาจอยู่ห่างกันคนละทวีป การยืมหนังสือหรือสำเนาของเอกสารก็สามารถทำได้โดยตรง โดยจะเป็นสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาดิจิตอล (Digital Copy) หนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆก็จะอยู่ในรูปดิจิตอลมากขึ้น แม้ในปัจจุบันก็เริ่มมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น The Los Angeles Times ผลิตหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ รวมทั้งโฆษณาให้อ่านไดฟรีในอินเทอร์เน็ต และจากเดิมที่สิ่งพิมพ์จะมีแต่อักษรและภาพ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) คือมีหลายสื่อรวมกัน ทั้งอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง อีกทั้งสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ในหลายกรณี สื่อมัลติมีเดียนี้จะบรรจุในซีดีรอม (CD-ROM) เพื่อให้ใช้ได้ในแบบที่ไม่ต้องการอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์อีกด้วย

  
 


การส่งข่าวสารถึงกันระหว่างบุคคลสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รูปแบบของข้อมูลนี้มีทั้งที่เป็นอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง คือ เป็นได้ทั้งไปรษณีย์เสียง (Audio Mail) และไปรษณีย์ภาพ (Video Mail) นอกจากนี้ การสั่งพิมพ์ข้อความในจดหมายก็อาจทำได้ด้วยการบอกให้จด (Dictation) คือ พูดให้คอมพิวเตอร์แปลงคำพูดออกมาเป็นตัวอักษร ความสามารถในการรับรู้คำพูดภาษามนุษย์ (Speech Recognition) นี้จะทำให้ง่ายที่จะโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์เป็นภาษาพูดโดยตรง แทนที่จะต้องสั่งผ่านแป้นพิมพ์ หรือเลือกคำสั่งจากหน้าจอเหมือนในปัจจุบัน ผลดีอีกอย่างที่เด่นชัดคือ คอมพิวเตอร์จะช่วยคนพิการในด้านการมองเห็น การพูด หรือการรับฟัง การที่มีผู้ช่วยอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้อื่นได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น

ในอนาคต ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่ต้องใช้เงินกระดาษ เพราะส่วนใหญ่จะซื้อของผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) การโอนเงินในธนาคารก็จะทำผ่านระบบโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) แม้แต่การซื้อของผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) เช่นเดียวกับการซื้อของตามห้างร้านต่างๆ ซึ่งบัตรที่บรรจุข้อมูลจำนวนเงินและคำผ่านสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของนั้นก็คือ บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) แบบที่เริ่มมีใช้กันอยู่บ้างแล้วในขณะนี้ นอกจากนั้น การประสานงาน การเงินของบริษัทห้างร้านและธนาคารก็จะใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI) ซึ่งเป็นวิธีการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจในส่วนของการสั่งซื้อ การแจ้งหนี้และการชำระเงิน ให้สามารถผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษส่งไปมาระหว่างกันอีก วิธีนี้ทำให้ธุรกิจเป็นการติดต่อกันโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อสินค้าคงคลังของร้านค้าน้อยลงกว่ากำหนด คอมพิวเตอร์ของร้านค้าก็อาจส่งคำสั่งซื้อ โดยอัตโนมัติไปยังคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ขายส่งสินค้านั้น บริษัทผู้ขายก็จะมีคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ของโกดังเก็บสินค้าส่งของไปให้ร้านค้าที่สั่งซื้อมา พร้อมกับส่งใบแจ้งหนี้ไปให้คอมพิวเตอร์ของร้านค้านั้น เมื่อได้รับสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ของร้านค้าก็จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ของธนาคารสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของตนแก่คอมพิวเตอร์ของบริษัทขายส่ง ดังนี้จะเห็นว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ที่เคยต้องใช้เอกสารกระดาษและคนจำนวนมาก ก็จะกลายเป็นงานอัตโนมัติที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเองได้ระหว่างหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และตัดปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดหรือความล่าช้าในแบบเก่าไปได้มาก

ประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการประยุกต์ใช้ Virtual Reality

1. สร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานภายในองค์กร
2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและทันสมัยแก่องค์กร
3. อำนวยความสะดวกและส่งข้อมูลระหว่างองค์กรได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน
4. ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองจากสถานการณ์จริง
5. ลดปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดหรือความล่าช้าต่างๆ
6. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆได้มากกว่าการทดลองจากสถานการณ์จริง

บรรณานุกรม

http://www.counter-strike.net/images.htm
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/SamutSongkhram/km-nano.html
http://www.thaiair.com/About_Thai/Public_Information/Information/aviation_th.html
http://www.stsoftware.nl/products.html
http://www.microsoft.com/games/flightsimulator/default.asp
http://www.phyathai.com/site/site.php-id=000058.html
http://www.bangkokbiznews.com/scitech/2003/0710/index.php?news=p10.html
http://www.adobe.com/products/breeze/productinfo/features/presenter/presenter_rich_viewing_lg.html
http://www.osnuke.tk/
http://www.kmutt.ac.th/rippc/best41.html
http://www.microsoft.com/latam/prensa/images/varios/07-16messenger-session_l.jpg
http://www.thorvinelectronics.com/images/video/video_screen.jpg
http://www.thaitambon.com/tambon/ttrvtypetlist.asp?PLC=29
http://www.banfun.com/thai/thai-sala.html
http://www.tourdoi.com/travel/north/chiangmai/page2.html
http://www.vrealities.com/intervest.html
http://kanchanapisek.or.th/kp6/home.htm (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
http://staff1.kmutt.ac.th/~sumet/combk/ch1/c143.htm

เขียนโดย

นภาพร อินทรีย์ และ พ.ท.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ


ผู้เขียน/อ้างอิง : http://www.guru-ict.com/guru/index.php?option=com_content&task=view&id=35&Itemid=1

อื่น ๆ เกี่ยวกับไอ.ที.

ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ

  • ปัทมา [04 ธ.ค. 2551 , 03:51 PM]

    มีประโชน์ในงานราชการอย่างไร

  • เอ๋ [10 มี.ค. 2553 , 11:10 AM]

    อยากได้หลักการทำงานของพวก ภาพ 3 มิติเสมือนจริงค่ะ ช่วยส่งให้ที่เมลล์ได้ไหมคะ

  • เจน [25 พ.ย. 2553 , 01:05 PM]

    หาไม่เจอ