รู้จัก Streaming Media Technology


อัปเดท : 20 มีนาคม พ.ศ.2547 , แสดง : 63,916 , ความคิดเห็น : 21

ปัจจุบันนี้สื่อผสม(Multimedia) ได้มีการนำมาใช้ในงานนำเสนอในหลายรูปแบบ เนื่องจากจะสามารถทำให้ผู้รับชมสามารถเข้าใจได้ดีกว่าการใช้สื่ออักษร ภาพ หรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยระบบเครือข่ายได้ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลเช่นเดียวกัน เนื่องจากประสิทธิภาพการเข้าถึงผู้รับชมจำนวนมากได้ในการนำเสนอเพียงครั้งเดียว และการใช้สื่อผสม ประเภท Video เพื่อใช้ในการนำเสนอผ่าน web browser ในระบบ intranet และ internet ซึ่งเป็นระบบ network ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้มากที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน

สำหรับวิธีการส่งข้อมูล Audio และ Video ผ่าน web browser มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ การใช้ Web Server ในการนำข้อมูลส่งไปยัง โปรแกรมที่ใช้นำเสนสื่อนั้นๆ และอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Streaming Media Server ซึ่งจะใช้ Server โดยเฉพาะในการให้บริการข้อมูล Audio/Video ถ้าเป็นเมื่อก่อน การนำเสนอสื่อ Audio/Video บน Web จะใช้การ download-and-play ซึ่งการที่จะชมสื่อนั้นๆได้นั้น จะต้องทำการ download ข้อมูลทั้งหมดมาก่อนจึงจะสามารถเล่นได้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นสื่อขนาดเล็กเพียง 30 วินาทีก็ตาม อาจจะต้องใช้เวลา Download ถึง 20 นาทีก่อนที่จะสามารถนำมาใช้ฟัง/ชม ได้

แต่ปัจจุบันการชม Audio/Video จาก Streaming Media Server จะแตกต่างออกไป โดยที่ Streaming Media file จะเริ่มเกือบจะในทันทีที่เล่น ระหว่างที่ข้อมูลกำลังถูกส่ง ผู้ชมสามารถรับฟัง/ชม สื่อนั้นๆได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ download ข้อมูลทั้งหมดก่อน ไม่ว่าสื่อนั้นๆจะมีขนาด 30 วินาที หรือ 30 นาทีก็ตาม โดยมี Buffer เป็นตัวช่วย

ในขณะที่การนำเสนอข้อมูล Audio/Video ผ่านระบบ internet กำลังเป็นที่นิยม วิธีการนำเสนอจึงได้ถูกนำมาพัฒนา โดยวิธีการส่งแบบแรกคือการใช้ Web Server ในการให้บริการ และ วิธีการที่สองคือการใช้ Streaming Media Server ในการให้บริการนั่นเอง ซึ่งในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป จึงต้องมีการพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับการใช้งานที่ต้องการ
 

Streaming With Web Server

การใช้งาน : การใช้งาน multimedia file บน web server เริ่มจากทำการแปลง Audio/Video ให้อยู่ในรูปแบบสื่อที่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลบน internet โดยพิจารณาจาก bandwidth เช่น 28.8,33.6,56.6 kilobits per second สำหรับ modem ทั่วไป ทำการ upload แฟ้มมัลติมีเดียไปยัง web server และสร้างเว็ปเพจที่ระบุ URL ของแฟ้มมัลติมีเดียนั้นๆ เมื่อมีการเรียกใช้งานแฟ้มมัลติมีเดีย client-side player จะทำงานและเริ่ม download แฟ้มมัลติมีเดีย เมื่อแฟ้มทั้งหมด download เสร็จสิ้นแล้วจึงทำการ play ไฟล์นั้นๆ

การส่งข้อมูล : Web Server ใช้การติดต่อผ่าน HyperText Transport Protocol (HTTP) ในการติดต่อระหว่าง server และ client ซึ่ง HTTP จะควบคุม Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่งจะจัดการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทั้งหมด
เป้าหมายของ TCP คือการเพิ่มระดับการส่งข้อมูลให้อยู่ในระดับสูงสุดโดยที่ยังมีความถูกต้องในข้อมูลนั้นๆ โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า slow start โดยในตอนต้น TCP จะทำการส่งข้อมูลจำนวนน้อยๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นจนปลายทางแจ้งมาว่า packet มีการสูญหาย TCP จะถือว่าปริมาณการส่งข้อมูลที่สมบูรณ์ก่อน packet loss คือค่าการส่งข้อมูลสูงสุด และจะใช้ค่านั้นในการส่งข้อมูลต่อไป

  
 

 

Streaming With Streaming Media Server

การใช้งาน : ขั้นตอนเบื้องต้นของการเตรียมแฟ้มมัลติมีเดีย จะเหมือนกับการเตรียมสำหรับใช้บน Web Server แต่จะแตกต่างตรงที่ว่าแฟ้มที่ได้จะ upload ไปยัง Streaming Media Server ซึ่ง Streaming Media Server และ Web Server อาจจะอยู่บน Server Machine ที่ให้บริการตัวเดียวกันก็ได้ เมื่อแฟ้มมัลติมีเดียถูกเรียกใช้งาน Web Browser จะส่งไฟล์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Meta File ไปยัง Client Player ซึ่งใน meta file นี้จะระบุปลายทางไปยัง Streaming Media Server หลังจากนั้น Client Player จะติดต่อกับStreaming Media Server โดยตรงโดยไม่ผ่าน Web Browser อีก

การส่งข้อมูล : ถึงแม้ว่า Streaming Media Server สามารถที่จะใช้ HTTP/TCP เหมือนกับ Web Server ได้ แต่ก็สามารถใช้ protocol อื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ เช่น User Datagram Protocol (UDP) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความเร็ว ขนาดเล็ก และไม่มีการทำงานเกี่ยวการส่งข้อมูลซ้ำหรือคำนวณอัตราการส่งข้อมูล ซึ่งจะเหมาะกับการส่งข้อมูลแบบ realtime ซึ่งข้อมูลที่สูญหายบางส่วนหรือข้อมูลที่เกิด delay จะถูกละความสนใจไป
นอกจากนี้ อาจมีการใช้งาน Protocol เฉพาะสำหรับการ streaming media เลยก็ได้เช่น Realtime Streaming Protocol (RTSP)

จุดเด่นของการใช้ Web Server เป็นผู้ให้บริการ

จุดเด่นของการใช้ Web Server คือการที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในการนำเสนอได้ทันที แต่งานที่เพิ่มให้แก่ Web Server อาจทำให้บริการของ Web Server ที่มีอยู่เดิม ทำงานได้ประสิทธิภาพต่ำลง

จุดเด่นของการใช้ Streaming Media Server เป็นผู้ให้บริการ

1. ใช้ Protocol ซึ่งเหมาะสมกับการนำเสนอ Realtime Audio/Video ซึ่งก็คือ UDP
2. ถูกออกแบบเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้จำนวนมาก
3. สามารถเพิ่มบริการพิเศษต่างๆได้เช่น pay-per-view หรือการติดโฆษณา
4. สามารถปรับเปลี่ยน การส่งข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับ client แต่ละรายได้ดี
5. สามารถควบคุมการนำเสนอได้ เช่นควบคุมให้ดูได้เฉพาะกลุ่ม หรือช่วงเวลา
 

Streaming Media Server Software

ปัจจุบัน software สำหรับให้บริการ Streaming Mediaจะมาจาก 2 บริษัทใหญ่คือ Microsoft Corporation และ RealNetworks Inc.

Microsoft Corporation : มี software ที่เกี่ยวกับการ Streaming Media หลายตัว แต่ละตัวมักจะมีจุดเด่นในการใช้งานต่างกันเช่น Microsoft Media Service ที่จะใช้ได้ดีใน internet หรือ Netshow Theater ที่ต้องการ Bandwidth สูงและเหมาะกับ intranet อย่างไรก็ตาม software ของ microsoft มักจะสนับสนุนเฉพาะ win32 platform เท่านั้น

RealNetworks Inc. : software จะแบ่งเป็นการใช้งานแต่ละด้านเช่น Streaming Audio / Streaming Video และ software จะแบ่งขีดความสามารถการใช้งานผ่าน license ที่ได้ขอซื้อใช้งาน software จะสนับสนุน platform ที่มีเกือบทั้งหมดเช่น Unix Solaris ฯลฯ
 

Windows Media Services

เป็นซอฟท์แวร์ที่ให้บริการสื่อมัลติมีเดียผ่านอินเตอร์เน็ต

Platform Windows 95,98,NT,2000,XP,2003
File Formats ASF,WAV,AVI,MOV,MIDI,AU,MP3
Protocol MMS Protocol , MSBD Protocol , HTTP
Standard Media File ASF
Standard Metafile ASX
Client Player Windows Media Player 7 & 9
Endcoder Windows Media Encoder 7 & 9

การทำงานของ Windows Media Services


Advanced Streaming Format ( ASF ) เป็นรูปแบบข้อมูลสำหรับเผยแพร่ภาพและเสียงบนระบบเน็ตเวิร์ค ข้อมูลASFอาจจะอยู่ในรูปไฟล์.asf หรือเป็นการถ่ายทอดข้อมูลสดซึ่งสร้างจากWindows Media Encoder ก็ได้ สำหรับ ASF ที่มีเฉพาะข้อมูลเสียงจะเรียกว่า Windows Media Audio ซึ่งมีนามสกุลเป็น.wma

ASF Stream Redirector ( ASX ) ASX metafiles มีลักษณะเป็น text file ซึ่งจะเป็น URL ของไฟล์ ASF สำหรับให้ข้อมูลแก่ Windows Media Player เพื่อใช้ในการติดต่อกับตัว Streaming Media Player

Windows Media Services Protocols เป็น Protocol ที่ Windows Media Services ใช้ในการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆในระบบ

Microsoft Media Server Protocol ( MMS Protocol ) MMS Protocol จะใช้ในการติดต่อระหว่าง Media Player กับ Windows Media Server

Media Stream Broadcast Distribution Protocol ( MSBD Protocol ) MSBD Protocol จะใช้ในการติดต่อระหว่าง Windows Media Encoder และ Windows Media Server หรือใช้ติดต่อระหว่าง server ด้วยกันเอง

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ในแต่ละ component สามารถใช้ HTTP ในการติดต่อได้ทั้งหมด ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ HTTP สามารถใช้ในการติดต่อผ่าน firewall ทั่วไปได้
 

Real Server

เป็นซอฟท์แวร์อีกตัวหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้ในการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในระบบเน็ตเวิร์คทั้งอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต

Platform Windows 95,98,NT,2000,XP,2003 Macintosh Unix Solaris
File Formats RM,RA,RV,WAV,AVI,MOV,MIDI,AU,MP3
Standard Media File RA,RV,RM
Standard Metafile RAM,SMIL
Client Player Real Player
Endcoder Real Producer
Protocol RTSP Protocol , PNA Protocol , HTTP

การทำงานของ real server


Real Media ( RM ) Real Media File เป็นสื่อมัลติมีเดียที่ถูกสร้างขึ้นจาก Real Producer เพื่อใช้เฉพาะสำหรับ Real Player โดยจะมี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

- Real Audio ใช้นามสกุล .ra สำหรับสื่อข้อมูลเสียง
- Real Video ใช้นามสกุล .rv สำหรับสื่อข้อมูลวิดีโอ( ไม่รวมเสียง )
- Real Media ใช้นามสกุล .rm สำหรับสื่อข้อมูลวิดีโอและข้อมูลเสียง

Real Media Metafile ( RAM ) Real Media Metafile เป็น text file ที่ระบุลำดับของ URL ที่เก็บ media file สามารถระบุ file ที่เล่นเพียง file เดียวหรือระบุหลาย file เพื่อให้เล่นตามลำดับก็ได้
Ramgen จะเป็นshortcut ไปยังfile .ram ซึ่งจะอยู่ในลักษณะ URL ที่จะชี้ไปยังหน้าเว็บเพจหรือตัวfile .ram นั้นเอง

Synchronized Multimedia Integration Language ( SMIL ) SMIL เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ควบคุมการแสดงผลของสื่อมัลติมีเดียว่าแสดงอย่างไรและเมื่อไหร่ โดยสามารถกำหนดได้ทั้งรูปแบบและเวลา SMIL จะมีลักษณะเป็น text file เช่นเดียวกับ RAM file แต่ข้อมูลที่ระบุ อยู่ในSMIL file นั้น จะมีทั้ง URL ของสื่อมัลติมีเดีย รูปแบบการแสดงผล ช่วงเวลาที่เริ่มแสดงและหยุดแสดง รวมทั้งมีความสามารถในการจัดการแสดงผลสื่อมัลติมีเดียสองแฟ้มหรือมากกว่าได้ในคราวเดียวกัน

  
 

Real Server Protocols

Real Time Streaming Protocol ( RTSP ) RTSP เป็นโปรโตคอลที่ใช้รูปแบบ client/server ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแสดงสื่อมัลติมีเดีย สำหรับ Real Server เวอร์ชั่นใหม่ RTSPจะสนับสนุน SureStreamTM ซึ่งจะสามารถเลือกที่จะส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วสูงที่สุดในขณะนั้นโดยอัตโนมัติ

Progressive Networks Audio ( PNA ) PNA เป็นโปรโตคอลที่ใช้รูปแบบ client/server ซึ่งถูกใช้ใน Real Server เวอร์ชั่นเก่า ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่บ้าง

HyperText Transmission Protocol ( HTTP )
HTTP ถูกใช้สำหรับการติดต่อระหว่างเว็บเพจกับReal Player และเป็นโปรโตคอลที่ใช้ติดต่อผ่าน firewall

ถึงแม้ว่า Streaming Media Server แต่ละตัว จะมีโปรโตคอลที่ใช้งานต่างกันเช่น RTSP ของ Real Network และ MMS ของ Microsoft แต่การทำงานในระดับการส่งข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีการใช้บริการโปรโตคอล TCPและ UPD

Transmission Control Protocol ( TCP ) : TCP protocol จะเป็นการส่งข้อมูลแบบสองทาง คือ มีการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับตลอดเวลา โดยข้อมูลที่รับ-ส่งจะมีความถูกต้องอยู่ในระดับสูง จะใช้ในการควบคุมระหว่าง server และ client เช่น การ play , pause , forward

User Datagram Protocol ( UDP ) : UDP protocol จะเป็นการส่งข้อมูลทิศทางเดียว คือ ข้อมูลจะส่งจาก server ไปยังclient โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า TCP protocol จึงได้ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อมูลมัลติมีเดีย

ข้อมูลอื่นๆ 


Multimedia Presentation : Web Server vs Streaming Media Server

Web Server

- ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม Software / Hardware
- ไม่สามารถชมสื่อแบบ realtime ได้ ต้องทำการ download มาก่อน
- ไม่มีการบริหาร bandwidth ของระบบ network

Streaming Media Server

- ต้องทำการเพิ่ม software ของ streaming media server
- สามามารถนำเสนอแบบ realtime ได้ ทั้งแบบ on-demand และ broadcast
- มีการจัดการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลในระบบเครื่อข่าย สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก
- มีความยืดหยุ่น สามารถกำหนดข้อบังคับต่างๆในการนำเสนอได้

Multimedia File : Advance Streaming Format (ASF) vs Real Media (RM)

Advance Streaming Format (ASF)

- รูปแบบการ codec ใกล้เคียงกับ multimedia file ทั่วไป
- มีประสิทธิภาพในการนำเสนอผ่านระบบเครือข่ายทั่วไป ภาพไม่กระตุก
- มีขนาดใหญ่หากต้องการสื่อคุณภาพสูง

Real Media (RM)

- เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เป็นลักษณะเฉพาะของ real
- ขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพดีในการนำเสนอผ่าน internet
- จำเป็นต้องดูด้วย real player เท่านั้น
- สามารถใช้งานร่วมกับ smil ได้

Multimedia Encoder : Windows Media Encoder vs Real Producer

Windows Media Encoder

- multimedia file ที่จะนำมาใช้แปลงคือ avi,wav,mp3 เท่านั้น
- สามารถระบุประเภทการใช้งานและคุณภาพของสื่อที่จะแปลงได้หลากหลาย
- เนื่องจากแฟ้มที่ได้จากการแปลงจะเป็นนามสกุล ASF ดังนั้นจึงมีขนาดใหญ่กว่ามากเมื่อเทียบกับ real media

Real Producer

- multimedia file ที่นำมาใช้แปลงมีความหลากหลายเช่น avi,mov,qt,au,mpg
- สามารถระบุประเภทและคุณภาพของงานได้ แต่ไม่ละเอียดเท่า Windows Media Encoder
- สามารถแปลง multimedia file ต่างๆ เป็นนามสกุลของ Real Media ได้เท่านั้น ขนาดเล็ก คุณภาพดี

Multimedia Player : Windows Media Player vs Real Player Plus G2

Windows Media Player

- สนับสนุน multimedia file หลายชนิด
- มีความสามารถอื่นๆเช่น เป็น mini browser , สามารถ search หา site ที่ broadcast เพลงได้ ฯลฯ
- player มีสำหรับ win32 , macintosh

Real Player Plus G2

- สนับสนุนเฉพาะไฟล์ของ real media แต่สามารถเพิ่ม plug-in สำหรับเล่นสื่อ multimedia อื่นๆได้
- สามารถ search หา site ที่ออกอากาศได้ , ทำ link และ bookmard ได้
- player มีสำหรับ operating หลายตัวเช่น win32,macintosh,linux


Streaming Media Server : Windows Media Services vs Real Server

Windows Media Services

- สามารถทำได้ได้ดีกับ OS ของ Microsoft
- มีระบบ help & wizard ที่ดี
- มีการบริหาร การนำเสนอสื่อที่ดี
- สามารถ download จาก www.microsoft.com ได้ฟรี

Real Server

- ใช้ได้กับ OS หลายตระกูล เช่น win32 , unix , solaris , linux
- สนับสนุนสื่อเฉพาะของ real แต่สามารถทำงานได้ดีมาก
- มีระบบ Administration ที่ดี และมีระบบ Server Monitor ที่มีประสิทธิภาพ
- ความสามารถของ software มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับ license ที่ซื้อจากบริษัท
 

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Streaming Technology

Bandwidth : ปริมาณการส่งข้อมูลที่สามารถส่งได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในระบบเครือข่าย bandwidth ที่สูงจะแสดงถึงการส่งผ่านข้อมูลที่เร็วกว่า bandwidth ต่ำ ค่าของ bandwidth จะแสดงในรูป bits per second (bps)

Broadcast : อธิบายถึงการส่งสัญญาณกระจายไปยังเครื่องผู้รับ ในการรับสัญญาณทางฝั่งผู้รับจะไม่สามารถควบคุม สื่อที่ทำการส่งสัญญาณขณะนั้นได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งสัญญาณแบบ on-demand เครื่องผู้รับจะสามารถทำการควบคุมการเปิด ปิด หรือเล่นสื่อนั้นๆได้

Broadcast Multicast : ทำการส่งสัญญาณจากเครื่องให้บริการ(server)หนึ่งสายสัญญาณไปยังผู้รับ(client)จำนวนมาก โดยที่ผู้รับจะรอทำการตรวจสอบจาก IP ของเครื่องให้บริการในมุมมองของผู้รับ การ broadcast multicast จะถือว่าผู้รับไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับผู้ให้บริการ เพราะผู้รับเพียงแต่รอฟังสัญญาณเท่านั้น

Broadcast Unicast : เป็นการรับสัญญาณซึ่งการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ จะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง และการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีการติดต่อกันตลอดเวลาระหว่างการส่งข้อมูล

On-Demanded : อธิบายถึงการส่งสัญญาณไปยังเครื่องผู้รับ โดยที่ผู้รับสามารถควบคุมสื่อนั้นๆ ได้ เช่นในกรณีของสื่อวิดีโอ ผู้รับสามารถ play , pause , forwarded ได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการส่งสัญญาณแบบ broadcast

On-Demanded Unicast : เป็นการติดต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับ ซึ่งผู้ส่งจะสร้างเส้นทางเชื่อมต่อสัญญาณ สำหรับผู้รับแต่ละราย

Codec : เป็นคำย่อของ Compressor/Decompressor ซึ่งเป็นหลัก Algorithm ที่ใช้ในการบันทึกสื่อวิดีโอหรือเสียง ซึ่งในแต่ละ Algorithm จะมีความแตกต่างกันทั้งในรูปแบบการจัดเก็บ ขนาดที่บีบอัดได้ และคุณภาพของสื่อ

Distributed Component Object Model ( DCOM) : เป็นส่วนเพิ่มเติมของ Component Object Model (COM) ซึ่งจะช่วยจัดการให้ software component สามารถติดต่อกันได้โดยตรง ผ่านระบบ network รวมไปถึง internet และ intranet ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ

Firewall : ระบบหรือองค์ประกอบของระบบซึ่งควบคุมจุดต่อระหว่างระบบเครือข่าย และคอยป้องกันไม่ให้ผู้ได้รับอนุญาต เข้ามายังในระบบเครือข่าย firewall จะเช็คข้อมูลที่รับเข้า และส่งออกทั้งหมดว่าไม่มีข้อมูลใดที่ขัดต่อระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้กำหนดไว้

Reference

http://www.microsoft.com/
http://www.realnetworks.com/
http://www.approach.com/
http://www.zdnet.co.uk/
http://www.thirstymonkey.com/


ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง

เวบ/อินเตอร์เน็ตเทคโนโลยี

ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ

  • ศุภกรณ์ [06 May 2005 , 11:52 AM]

    ขอบคุณนะครับ ผมหามานานแล้ว ผมได้ความรู้เยอะเลยครับ ขอบคุณนะครับ ปล.หากมีบทความเกี่ยวกับเรื่อง Streaming Video รบกวนเมล์บอกด้วยนะครับ

  • สราวุธ [23 Jun 2005 , 06:29 PM]

    ดีมากๆครับ ได้ความรู้ดีมากเลย มีอีกมาบอกอีกนะครับ

  • sopon [25 Jul 2005 , 10:02 PM]

    ต้องการทราบวิธีใช้งานและวิธีการตั้งค่าครับ จะหาได้จากที่ไหน

  • tamanee [11 Aug 2005 , 04:13 PM]

    เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ หายากมากๆ หวังว่าจะมี info ที่ดีๆอย่างนี้ให้อ่านตลอดไปน๊ะค่ะ

  • kowit [31 Aug 2005 , 09:34 AM]

    ขอบคุณมากครับเรื่อง streamming video หากต้องการให้ข้อเสนอแนะมากกว่านี้ก็ติดต่อผมได้ที่ mail:[email protected] นะครับ

  • ton318 [11 ม.ค. 2549 , 11:47 AM]

    อยากรู้วิธีใช้งานครับ เขาทำกันยังไง ช่วยบอกด้วยครับ

  • ยุทธ8524 [16 ม.ค. 2549 , 02:45 PM]

    ต้องการทราบวิธีใช้งานและวิธีการตั้งค่าครับ มีค่ามหาศาล และเป็นวิทยาทานที่ดีมากครับ

  • จักรกฤษณ์ แร่ทอง [26 ม.ค. 2549 , 07:47 AM]

    ผมไม่ได้ทดลองใช้เรื่องนี้นานแล้วครับ ไม่แน่ใจว่าเค้าไปถึงไหนกันแล้ว พักหลังๆ ตัว Linux หรือ Unix ก็ทำ Streaming Mediaได้แล้ว มีหลาย ๆ ที่ใช้กันเพราะลดต้นทุนเรื่อง Software แต่การ Config อาจยุ่งยากและใช้ทักษะมากสักหน่อย ส่วนวิธีการติดตั้งของโปรแกรมที่ผมพูดถึง รบกวนดู คู่มือน่ะครับ เพราะเค้าบรรยายไว้อย่างละเอียด ขอบคุณครับ

  • อรทัย ขันอาสา [27 มี.ค. 2549 , 01:40 PM]

    อยากรู้ความสามารถของระบบปฏิบัติการ window, unix, และ solaris ค่ะ ช่วยส่งข้อมูลให้ด้วยนะคะ

  • Chamnan Phathong [01 ก.ย. 2549 , 01:53 PM]

    อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม solaris (Features,Process Management,Memory Management,File Management,I/O Management,Storage Management,Network Protocal,Security) กรุณาส่งข้อมูลมาด่วนน่ะครับ ขอบคุณครับ

  • chart [07 ก.ย. 2549 , 12:35 PM]

    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ เพราะผมใช้งานอยู่ แต่ไม่ทราบหลักการที่ถูกต้อง มาอ่านข้อความแล้วเลยเขาใจการทำงานครับ

  • ประพันธ์ [11 ก.ย. 2549 , 09:50 PM]

    ผมกำลังศึกษาเรื่อง Streaming Video ต้องทราบว่ามีโปรมแกรมใดบ้างและต้องจัดการการใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงออกอากาศแบบออนไลน์ได้

  • นุก [05 ก.พ. 2550 , 03:01 PM]

    ขอบคุณมากค่ะ กำลังทำงานเรื่องนี้พอดี เพราะว่า server ใช้ real น่ะค่ะ แต่ทำไมรันไม่ออก ขึ้นแต่หน้าต่าง real แต่ไม่เล่นไฟล์ให้และมี error ด้วย จะลองศึกษาจากเรื่องนี้ดูก่อนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

  • tai [06 ต.ค. 2551 , 06:48 AM]

    ดีมากเลย

  • เฟม [10 ก.พ. 2552 , 10:59 AM]

    ผมอยากทราบว่าการเข้ามาดู streaming video พร้อมๆกันได้กี่คนแบบออนไลน์ครับ ทำยังไงให้เครื่องเราเป็นตัวถ่ายทอดได้ ผ่านเครื่อง server และ server ทำอย่างไร ทรัพยากรที่ต้องการของ server ครับ

  • golf [17 ม.ค. 2554 , 12:35 PM]

    ผมรักคุณ

  • janya_sattanako [13 ก.พ. 2554 , 10:13 PM]

    thx 2 much so much very much...

  • สุพรรณ [16 มี.ค. 2555 , 10:17 AM]

    ขอบคุณมากสำหรับความรู้ดีๆ อยากรู้มานานแล้ว อธิบายได้ละเอียดชัดเจนดีมากครับ

  • Tanakan Kanteemoon [15 ส.ค. 2555 , 07:34 PM]

    ผมอยากทราบว่าการ Streaming แบบ Media Server กับ Flash Media Server แตกต่างกันอย่างไร ? หลักการทำงานเป็นอย่างไร ? รบกวนตอบกลับ [email protected] ขอบคุณครับ

  • kitchapon [24 ส.ค. 2555 , 08:03 PM]

    ขอบคุณมากครับ ขอให้สติปัญญาเจริญยิ่งๆขึ้นไปครับ

  • tinakorn [29 ต.ค. 2555 , 12:06 PM]

    ขอบคุณครับ ได้ความรู้อีกแล้ว