แบ่งประเภทเวบไซต์ ตามรูปแบบเทคโนโลยีกันอย่างไร


อัปเดท : 18 กรกฎาคม พ.ศ.2547 , แสดง : 30,364 , ความคิดเห็น : 1

คงเป็นไปไม่ได้ที่ใครได้อ่านบทความนี้ไม่รู้จัก เวบเพจหรือเวบไซต์ บทความนี้ผมตั้งใจที่จะพูดถึงเวบเพจหรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Web Document ว่ามีกี่แบบอะไรบ้างแบ่งแยกกันอย่างไร HTML จัดเป็นแบบไหน , ASP,ASP.net,JSP,PHP จัดเป็น Web Document ประเภทไหน ใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งประเภท มาดูกันเลยดีกว่า

Web Document แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1. Static Web Document : ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นเวบเพจที่นิ่ง สงบ เวบเพจพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นเวบเพจที่เขียนด้วยภาษา HTML เป็นต้น Static Web Document มีลักษณะเด่นคือ
- ข้อมูลจะเป็น Text File หรือเป็น HTML ทั้งหมด
- ข้อมูลของเวบจะไม่เปลี่ยนจนกว่า ผู้เขียนเวบแก้ไขข้อมูล และอัปโหลดขึ้นไปใหม่
- แสดงผลผ่าน Web Browser ได้เร็วแค่โหลดข้อมูลมาแสดงผลเท่านั้น โดย Web Browser จะต้องมีความสามารถในการประมวลผล ภาษาที่ใช้ซึ่งก็คือ HTML
- พัฒนาได้ง่าย ภาษาที่ใช้ไม่ซับซ้อน

  
 

2. Dynamic Web Document : ชื่อก็บอกอีกแล้วครับ ว่าเป็นเวบที่ไม่อยู่นิ่ง เวบเพจพวกนี้เป็นเวบเพจที่เขียนด้วย ภาษาต่างๆ เช่น ASP ,ASP.net, JSP,PHP เป็นต้น Dynamic Web Document มีลักษณะเด่นคือ
- บน Server ต้องมีโปรแกรม(Web Server) เพื่อประมวลผลภาษาที่ใช้เขียน
- การเรียกเวบทุกครั้ง Web Server จะต้องประมวลผลก่อนที่จะส่งข้อมูลมาแสดงผลที่ Web Browser ผลที่ได้อาจไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับข้อมูล เช่นเรียกจาก ฐานข้อมูล ,ข้อมูลของระบบ เป็นต้น โดยผลที่ส่งมาจะเป็นรูปแบบที่ Web Browser รู้จักซึ่งก็คือภาษา HTML
- พัฒนายากกว่าแบบแรก เพราะส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อติดต่อข้อมูลภายนอกเช่น ฐานข้อมูล,ไฟล์ เป็นต้น

3. Active Web Document : เวบเพจพวกนี้เป็นเวบเพจที่มีส่วนของ Java Applet ,Active X เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเน้น Java เป็นหลัก(De Facto Standard) Active Web Document มีลักษณะเด่นคือ
- การ โหลด เวบจะเป็นการโหลด ซอร์สโปรแกรม มาประมวล ที่เครื่องไคลเอ้น (Web Browser) ด้วย
- Web Browser ต้องมีตัวประมวลผล ซอร์สโปรแกรม เช่น Java Runtime หรืออื่นๆ นอกเหนือจาก HTML
- สามารถเขียนซอร์สโปรแกรม ให้ รีเฟรช เฉพาะข้อมูลได้ โดยไม่ต้องโหลดหน้าเวบมาใหม่เหมือน Dynamic Web
- เมื่อประมวลผลผ่าน Web Browser ซอร์สโปรแกรม สามารถทำได้ทุกอย่างภายในกรอบที่ Java Runtime กำหนด
- พัฒนายากกว่าทั้งสองแบบ

ครับนั่นคือทั้ง 3 แบบที่มีอยู่ มาดูการใช้งานกันต่อ Web Document ว่าแต่ละชนิดเหมาะกับงานแบบไหน

1. Static Web Document : เหมาะกับเวบทั่วไปที่ข้อมูลค่อนข้างนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ต้องการประมวลผลอะไรเป็นพิเศษ เช่น เวบประวัติส่วนตัว,เวบเสนอผลงาน , Resume เป็นต้น(คิดตัวอย่างไม่ออก)

2. Dynamic Web Document : เหมาะกับเวบที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ แต่ไม่บ่อยมากนัก หรืออาจมีติดต่อกับฐานข้อมูล หรือนำข้อมูลภายนอกมาแสดงผล เช่น เวบอีคอมเมิร์ช ,เวบบอร์ด,เวบเมลล์ และอื่นๆ อีกมาก แม้กระทั่งเวบไวต์แห่งนี้ก็เป็นกับเค้าด้วย

3. Active Web Document : เหมาะกับเวบที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ (Real Time) อาจมีติดต่อกับฐานข้อมูลด้วย เวบไซต์ส่วนใหญ่ ที่เลือกใช้ Active Web Document ที่เห็นจะเป็นเวบเกี่ยวกับเรื่อง เงินๆทองๆ เช่น เวบไซต์ตลาดหุ้น,เวบไซต์ค่าเงินสกุลต่าง ๆ เหตุที่ต้องใช้ Active Web Document เพราะซอร์สโปรแกรมซึ่งอาจเป็น Java Applet เราสามารถเขียนโปรแกรมให้ ให้มัน Update และแสดงผลเฉพาะข้อมูลได้(ประหยัดแบน์ดวิท) โดยไม่ต้องโหลดหน้าเวบทั้งหมด(รูป,ข้อความ) เหมือนกับ Dynamic Web Document ทำให้การทำงานจะช้ากว่ามาก และเพราะเรื่อง เงินๆทองๆ ทุกวินาทีที่ผ่านอาจหมายถึงเงินจะนวนมหาศาลที่ต้องเสียไป ถ้าได้ข้อมูลที่ไม่ Real Time จริงๆ

ปล. เราสามารถทำให้ Dynamic Web Document โหลดข้อมูลใหม่(รูป,ข้อความ) หรือรีเฟรชอัตโนมัติ โดยแทรก Meta Tag ด้านล่าง ภายใน Header Tag (<Header>....</Header>) ซึ่งตัวอย่างจะเป็นการสั่งให้ Web Browser รีเฟรชทุกๆ 10 วินาที

<meta http-equiv="refresh" content="10">

จบแล้วครับ....


ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง

เวบ/อินเตอร์เน็ตเทคโนโลยี

ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ

  • ตูน [25 ก.พ. 2553 , 12:43 AM]

    ขอบคุณมากนะคะ เป็นประโยชน์มากจริงๆ ไว้ เอา มา ลง อีก นะ คะ