คลื่นยักษ์สึนามิ กับ IT (Disaster Recovery)
อัปเดท : 27 ธันวาคม พ.ศ.2547 , แสดง : 28,822 , ความคิดเห็น : 6
ช่วง 2 วันมานี้ ผมเองก็ติดตามข่าว คลื่นยักษ์ “tsunami” , “สึนามิ” ที่ถล่ม 6 จังหวัดในภาคใต้ ดูจากข่าวเห็นแล้วน่าหดหู่ยิ่งนัก ผมก็ช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ก็เพิ่งบริจาคเสื้อผ้าไป และคอยเป็นกำลังใจ ...ตอนดูข่าวเห็นภาพโรงแรม และธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ไกล้ชายหาดพังยับเยิน ผมเลยมองผลที่ตามมาภายหลัง ในเรื่องที่กระทบเกี่ยวกับ IT ของธุรกิจนั้นๆ เลยคิดเล่นๆว่า ถ้าโรงแรมที่เสียหายยับเยินนั้นมีระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อบริการลูกค้าหรือทำธุรกรรมอื่นๆ แล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่หายไปหมดเลยเหรอ ไหนจะข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน และข้อมูลอื่นๆ ของธุรกิจนั้น ซึ่งสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งข้อมูลที่เป็น Computer Base และ Paper Base ที่สูญหายไป อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวไปหรือเปล่า ? ( ความจริงอาจไม่เลวร้ายขนาดนั้น)
วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่อง Tsunami กับ IT ซึ่งจริง ๆไม่ได้เกี่ยวกันสักเท่าไหร่ แต่มุมมองของ IT Security (ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ) หรือที่เรียกติดปากว่า "ความปลอดภัย" (ความปลอดภัยน่าจะใช้คำว่า "Self" จะดูดีกว่า) หลายท่านที่เคยศึกษาเกี่ยวกับ IT Security จะเห็นว่า IT Security ในประเทศไทยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ Threats หรือภัยคุกคามต่าง ๆ รวมทั้งความเสี่ยง(Risk) ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Virus,การถูกโจมตีจาก Hacker หรือ Cracker , Dos ซึ่งมีโอกาศเกิดขึ้นบ่อย แต่มีอีกหัวข้อที่ IT Security พูดถึงแต่เรา ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญมากเท่าไหร่ คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Natural Disaster) หรือการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรืออื่นๆ ประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อย ๆ เช่นญี่ปุ่นซึ่งเกิดแผ่นดินไหว เค้าก็จะมีแผนฉุกเฉินเพื่อจัดการเรื่องพวกนี้ไว้ (Security Control Spreadsheet) เพื่อเตรียมการป้องกัน โดยในแผนก็จะมี ข้อมูลทรัพย์สินต่างๆ ทั้ง Hardware และ Software , เดต้า และบุคลากร ขององค์กรนั้น ๆ ที่ประเมินแล้วให้ลำดับความสำคัญของทรัพย์สินต่างๆไว้แล้ว เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติจริง ๆ จะเป็นช่วงที่วุ่นวายมาก ไม่มีเวลามาคิดวางแผนหรือตัดสินใจเพื่อรับมือกับปัญหา ก็ให้ทำตามแผนอย่างเดียว เช่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน อาจทำอะไรไม่ถูก ตกใจ คิดได้แค่ว่ายก PC ของตัวเองขึ้นไว้ชั้นบนก่อน ซึ่งอาจลืม Database Server มาดูอีกที อ้าว!! จมน้ำไปแล้วเป็นต้น
ผู้ดูแลระบบที่เตรียมการเรื่องภัยพิบัติจากธรรมชาติ ก็จะรู้ว่า ข้อมูลหรือทรัพย์สินอันไหนสำคัญที่สุด เช่น Database Server อันดับ 1 , Mail Server อันดับ 2 ผู้ดูแลก็จะให้ความสำคัญกับ Database Server ก่อน เมื่อเคลื่นย้าย Database Server แล้ว ก็เคลื่อนย้าย Mail Server และ ลำดับ อื่นๆตาม ความสำคัญ ซึ่งแต่ละองค์กรอาจให้ลำดับความสำคัญของทรัพย์สินแตกต่างกัน
แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แผนฉุกเฉิน (Security Control Spreadsheet) ที่อาจเตรียมไว้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ! เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วมาก ไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า การที่ต้องเอาชิวิตให้รอดปลอดภัยเป็นสี่งที่สำคัญกว่า
ดังนั้นการสำรองข้อมูล และเก็บไว้ที่อื่น ๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกู้ระบบหรือข้อมูลกลับมาเมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Disaster Recovery )
การเตรียมการเรื่องพวกนี้จริงๆแล้วต้องเริ่มตั้งแต่ออกแบบระบบ ลักษณะการเก็บข้อมูล จะเก็บแบบไหนเก็บที่เดียว หรือกระจายเก็บหลายที่ ( Distributed ) หรือใช้ลักษณะการสำรองข้อมูลเก็บไว้ที่อื่น ก็ต้องมีนโยบายอีกว่าสำรองข้อมูลบ่อยแค่ไหน (ทุกวัน , ทุกอาทิตย์ , ทุกเดือน) มีการควบคุมข้อมูลอย่างไร เพราะเมือเกิดปัญหาจะสามารถกู้คืนระบบได้รวดเร็ว และ ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด
ในเรื่องการเตรียมการรองรับภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปรกติจะมีการออกแบบในลักษณะของสถานที่ เช่นห้องวาง Server หรือทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูง ไว้ชั้นบนเพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือมีระบบสารเคมีที่ใช้ดับเพลิงในกรณีที่ไฟไหม้ เป็นต้น
การสำรองข้อมูล และนำไปเก็บในที่ ที่ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ อาจทำสำเนาเก็บไว้หลาย ๆ ที่ ดูเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตามต้องมีการควบคุมดูแลที่ดี ดังนั้นเมือเกิดภัยพิบัติ แม้เครื่องคอมพิวเตอร์จะหายจมไปกับน้ำ เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ที่สำคัญ ข้อมูลที่สำรองไว้ที่อื่น ก็ยังอยู่ อาจใช้เวลาไม่นาน ในการกู้ระบบให้กลับคืนมา และดำเนินธุรกิจต่อไป
สุดท้ายนี้ก็ขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุด กับญาติผู้เสียชีวิตและผู้ประสบภัยทุกท่าน
ปล. เห็นมั้ยครับความสำคัญของข้อมูล เรื่องพวกนี้ถ้าไม่เจอด้วยตัวเองก็ไม่รู้ผมเองเคยเจอมาบ้างแล้ว ข้อมูลงานทั้งหมดหายไปในคลิ๊กเดียว อยากจะร้องให้ คับแค้นใจในความประมาทของตัวเอง แต่ยังดีที่มีสำรองไว้ ข้อมูลที่สำรองไว้ก็ 3 เดือนที่แล้ว เฮ้อ.. ยังดีกว่าไม่เหลืออะไร ตอนนี้ผมเองไม่ไว้ใจอะไรแล้ว สำรองข้อมูลลง Harddisk (Rack) ทุกๆสัปปดาห์ และสำรองข้อมูลลง CD-Rom ทุกเดือน และข้อมูลที่สำรองไว้ต้องมีการทดสอบดูด้วยว่ากู้คืนหรือใช้ได้จริงหรือเปล่า...
ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง
อื่น ๆ เกี่ยวกับไอ.ที.
เมกะไบท์ กิกะไบท์ เทราไบท์ แล้วต่อไปจะเป็นอะไร ?
Trend of technology จะพูดถึง แนวทางของ Bus ในอนาคต
Trend of technology จะพูดถึง แนวทางของ Bus ในอนาคต
ครื่องวัดความดัน วัดอุณหภูมิ และตรวจนับการเต้นของชีพจร
คิดว่าหลายท่านที่ติดตามข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ในช่วงปีกว่ามานี้ คงจะได้ยินคำว่าสภาวะโลกร้อนหรือ Global Warming
จะเลือกจอ CRT หรือ LCD ดี? คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่หลายๆคนถามหา เมื่อจะเลือกซื้อจอใหม่
การใช้งานเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มีประสิทธิภาพสูง
ระบบเสมือนจริงนับเป็นการใช้ประโยชน์จากการแสดงผลด้วยสื่อประสม สร้างภาพ 3 มิติที่สามารถมองเห็นเหมือนเป็นภาพที่เป็น 3 มิติ
เอาดิสก์หลายๆตัวมารวมกัน ประสิทธิภาพที่ได้จากการใช้งานจะมากกว่า
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย แต่ในอนาคตอันใกล้นี้
ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ
- iPAtS [29 Dec 2004 , 11:17 PM]
..ผมเคยลองคิดกันเพื่อนนะ ว่าถ้าตึก CAT ที่ไปรษณีย์กลางเป็นอะไรไป เน็ตประเทศไทยจะเสียหายขนาดไหน
- Few [29 Dec 2004 , 11:52 PM]
อ่า ใช่ๆ ถ้ามันเปงไรไปนี่ไม่อยากจะคิดเลย เช่นน้ำเจ้าพระยาเซาะแล้วตึกถล่ม
- เด็กเดน [14 Oct 2005 , 10:45 AM]
โห.....น่ากลัวจังอ่ะ อีกหน่อยโลกจะเเตก
- ป่วนเมล [03 ก.ย. 2551 , 10:33 AM]
หากบนโลกมีแต่คนเห็นแก่ตัว โลกคงใกล้ถึงวันวิกฤต แหงๆ
- ป่วนเมล [03 ก.ย. 2551 , 10:40 AM]
หลายสาเหตุที่ทำให้เกิดคลื่นหลายประเทศ น่ากลัวจังเลย
- poi [03 ก.ย. 2551 , 10:43 AM]
จริงดิน่ากลัวสุดๆ อยากให้คนบนโลกเลิกเห็นแก่ตัวสักที