WiMax เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะมาถึง


อัปเดท : 23 มีนาคม พ.ศ.2548 , แสดง : 37,609 , ความคิดเห็น : 17

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Wi-Fi ที่ใช้ๆ กันอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีรัศมีบริการประมาณ 100 เมตร มันเกิดมีความสามารถในการให้บริการรัศมีเพิ่มเป็นหลายสิบกิโลเมตร และความเร็วสูงอีกด้วย ถ้าจังหวัดเล็ก ๆ จังหวัดหนึ่งมี Hot Spot จุดเดียวก็สามารถเชื่อมต่อ Internet รับส่งข้อมุลต่างๆทั้งภาพและเสียงได้เต็มรูปแบบ จากทุกพื้นที่ในจังหวัด ฟังดูเหลือเชื่อน่ะครับ แต่ที่ต้องเชื่อเพราะมันเกิดขึ้นแล้วและมันมีชื่อเรียกใหม่เพื่อให้แตกต่างว่า "WiMax" จริงๆ แล้วผมเองกำลังจะเขียนเรื่องนี้อยู่พอดี ก็เลยลองหาข้อมุลดจากเวบไซต์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกัยเทคโนโลยีใหม่นี้ และก็เจอข้อมูลมาพอสมควร แล้วก็เจอข้อมูลภาษาไทยอันนึง ลองอ่านดู เห็นว่าเค้าแปลและเรียบเรียงได้ค่อนข้างดี อ่านง่าย ลงรายละเอียดบ้างแต่ไม่หนักเรื่องทางเทคนิคมาก ก็เลยคิดว่าไม่ต้องเขียนใหม่ดีกว่า คัดลอกมาเผยเพร่น่าจะดีกว่า(เสร็จ...เลย)

 

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็น โครงข่ายสื่อสารที่โยงใยผู้คนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน การสื่อสารไร้สายความเร็วสูงที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ถูก วิวัฒนาการขึ้น ให้ผู้คนโลดแล่นไปเฉกเช่นจินตนาการของโลกแห่งเวทมนต์ ก็เพียงแต่คุณอยู่หน้าจอ ก็สามารถเดินทางรอนแรมท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้เพียงชั่ว พริบตา...

ในยุคแรกของการนำเอาเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้งานนั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด (Point-to-Point) ซึ่งเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายภายในอาคาร 2 แห่งเข้าด้วยกันเพื่อให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งต่อมาการใช้งานรูปแบบนี้มีข้อจำกัด จึงได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อในอีกรูปแบบหนึ่ง ขึ้น โดยเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดหนึ่งไปหลายๆ จุดได้ (Point-to-Multipoint) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์สามารถให้บริการ ที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ได้กว้างขึ้น ซึ่งในแง่ของธุรกิจแล้วนั้นให้ความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า ดังนั้นระบบบรอดแบนด์ไร้สายจึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ ผู้ให้บริการสามารถขยายพื้นที่ในการให้บริการบรอดแบนด์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้งบประมาณในการลงทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการติด ตั้งระบบบรอดแบนด์แบบใช้สายอย่างโครง--ข่ายใยแก้วนำแสงที่ต้องมีการลากสายและติดตั้งท่อ ร้อยสายใต้ดินรวมถึงจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ในการใช้ บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงในราคาประหยัดอีกด้วย

สำหรับการเติบโตของบรอดแบนด์ทั่วโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียนั้นได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า จะยังคงเติบโตต่ออย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูงมากกว่า แต่เทคโนโลยีเก่าอย่าง Dial-Up ไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการของผู้ใช้งานและสื่อแบบมัลติมีเดียที่เป็นการสื่อสารทั้งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูลได้

ดังนั้นจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ลงทุนต่ำและเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ในการให้บริการได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นส่วนขยายของบริการฮอตสปอทหรือการบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงไปยังจุดซึ่งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไม่ได้ ครอบคลุมถึงตลอดจนเป็นส่วนขยายไปยังผู้ใช้ ปลายทางหรือที่เรียกว่า Last Mile ของเทคโนโลยีแบบมีสายอื่นๆ

WiMax คืออะไร ?

WiMax เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคต อันใกล้นี้ โดย WiMax เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูก พัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมา ก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้อนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMax สามารถ ให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว

  
 


 โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMax มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะ จากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMax ช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสามารถ ขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 30 ไมล์ หรือ ประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล สูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟ ที่ความถี่ ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

จากจุดเด่นในการทำงานของ WiMax ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการ ของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย และประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่อง จากไม่ต้องลงทุน ขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น WiMax หรือบรอด--แบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุง ประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (Video) หรือการใช้งานเสียง (Voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร ของเครือข่ายมากอย่างเก่า (Low-Latency Network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้ รับอนุญาติ (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (Encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบน มาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMax ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนอง ความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ ใช้งานกันอยู่

สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMax ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้

• IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 - 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)

• IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไข ปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา (NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ

นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 30 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน

• IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 - 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม


  เปรียบเทียบเทคโนโลยีไร้สายในแบบต่างๆ
  เทคโนโลยี
มาตรฐาน
เครือข่าย
อัตราความเร็ว
ระยะทาง
ความถี่
Wi-Fi
IEEE 802.11a
WLAN
สูงสุด 54Mbps
100 เมตร
5GHz
Wi-Fi
IEEE 802.11b
WLAN
สูงสุด 11Mbps
100 เมตร
2.4GHz
Wi-Fi
IEEE 802.11g
WLAN
สูงสุด 54Mbps
100 เมตร
2.4GHz
WiMax
IEEE 802.16d
WMAN
สูงสุด 75Mbps
(20MHz BW)
ปกติ 6.4 - 10 กิโลเมตร
Sub 11GHz
WiMax
IEEE 802.16e
Mobile WMAN
สูงสุด 30Mbps
(10MHz BW)
ปกติ 1.6 - 5 กิโลเมตร
2 - 6 GHz
WCDMA/UMTS
3G
WWAN
สูงสุด2Mbps/10Mbps (HSDPA)
ปกติ 1.6 - 8 กิโลเมตร
1800, 1900, 2100MHz
  CDMA2000
1x EV-DO 3G
WWAN
สูงสุด 2.4Mbps
ปกติ 1.6 - 8 กิโลเมตร
400, 800, 900, 1700, 1800, 1900, 2100MHz
  EDGE
2.5G
WWAN
สูงสุด 348Kbps
ปกติ 1.6 - 8 กิโลเมตร
1900MHz
  UWB
IEEE 802.15.3a
WPAN
110 - 480Mbps
10 เมตร
7.5GHz
 

รูปแบบการใช้งานในส่วนต่างๆ
ระบบบรอดแบนด์ตามความต้องการ (Broadband on-demand)

สำหรับระบบเครือข่าย ไร้สายมาตรฐาน WiMax นั้น จะช่วยให้เหล่าโอ เปอเรเตอร์ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้ โดยใช้เวลาการติดตั้งที่น้อยกว่า มีราคาที่ถูกกว่ามาก นอกจาก นั้น WiMax ก็ยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการ ทำงานในแบบชั่วคราว อาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น

ระบบการสื่อสารบรอดแบนด์สำหรับที่พักอาศัย

 ขณะที่เทคโนโลยีการใช้งานสายเคเบิลและเทคโนโลยี DSL ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นมีช่องว่างในการใช้ งานมาก ด้วยข้อจำกัดของการวางโครงข่าย ที่มีอยู่และต้นทุนของการวางระบบ ทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ที่ต้องการใช้งานจำนวนมากซึ่ง ต้องการระบบ การสื่อสารระดับบรอดแบนด์ได้ แต่ข้อจำกัด เหล่านี้จะถูกทลายลง เมื่อมีการเปิดตัวระบบที่อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMax ออกมา โดยแอพพลิเคชันสำหรับการ สื่อสารบรอดแบนด์ไร้สาย WiMax จะช่วย ให้สามารถพัฒนางานต่างๆ ที่สนองตอบความต้องการการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้

พื้นที่ซึ่งบริการเข้าไม่ถึง

นับว่าเทคโนโลยีระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ได้อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMax นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการใช้ งานในพื้นที่ห่างไกล ในเขตที่มีข้อจำกัดของการเดินสายนำสัญญาณในระบบ DSL

บริการการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูง

มาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้นเป็นคุณสมบัติแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้อง เคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถ สื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมี เสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul

ด้วยแบนด์วิดท์การใช้งานของ WiMax ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ จึงทำให้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะนำมาใช้งานให้รองรับการส่งสัญญาณใน แบบย้อนกลับไปยังสถานีฐานระบบเซลลูลาร์ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันในแบบจุดต่อจุดได้

มีอะไรใหม่ๆ บ้าง ?

เรื่องของความเร็ว


สำหรับ WiMax นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่น สัญญาณที่ให้ ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพใน การ ทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่าง ความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไม่สามารถรองรับการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสาร ให้มากขึ้นได้

การบริการที่ครอบคลุม

นอกจาก WiMax จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ ผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของ การรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะในการทำงานน่าเชื่อถือสูง

ความสามารถในการขยายระบบ

WiMax นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอด คล้องกับแผน--การติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้น ได้รับคลื่นความถี่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละ ส่วนได้อีกด้วย

การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS - Quality of Service)

  
 


สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMax นี้ มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของ บริการสัญญาณเสียงและ สัญญาณวิดีโอ ซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMax นี้ อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะ สมกับรูปแบบการใช้งานต่างๆ อาทิ สำหรับบริการให้องค์กรธุรกิจ, ผู้ใช้งานตามบ้านเรือน เป็นต้น

ระบบรักษาความปลอดภัย

นับเป็นคุณสมบัติ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่ง อยู่ในมาตรฐาน WiMax ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย

         สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน WiMax นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Nokia, Intel, Proxim, Fujitsu, Alvarion ฯลฯ ที่มีชื่อเรียกกันว่า WiMax Forum ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยี บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่ ทั้งนี้ มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า WiMax เช่นเดียวกับที่มาตรฐาน IEEE 802.11 เคยได้รับการรู้จักในชื่อ Wi-Fi มาแล้ว

บทสรุป

         แม้ว่าในขณะนี้ WiMax จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ WiMax ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือก หนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโต อย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และหากมองถึงประโยชน์ในการ ขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่าง เท่าเทียมกัน รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิต อุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMax อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับที่ Wi-Fi ประสบความสำเร็จอยู่ในปัจจุบัน


คัดลอกจาก
http://www.buycoms.com/upload/coverstory/111/WiMax.html


ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.wimaxforum.org/
http://www.intel.com/netcomms/technologies/WiMax
http://www.WiMaxworld.com
http://www.WiMaxworld.com/


ผู้เขียน/อ้างอิง : n/a

ระบบเครือข่ายและความมั่นคง

ความคิดเห็น/แนะนำ/ติชม/อื่นๆ

  • ibnu [27 Jun 2005 , 03:42 PM]

    very good message ...if you have another technology please send an article of new technology. thank before

  • poungporn [30 Jun 2005 , 03:49 PM]

    เป็นเว็บที่ให้ความรู้ใหม่ๆดีจังค่ะ ว่าแต่เมืองไทยเราเริ่มทดลองใช้บ้างรึยังคะเนี่ย

  • โกโก้ [15 Sep 2005 , 02:18 PM]

    เท่าที่รู้ กทช.ยังไม่อนุญาตินี่ครับ อย่างงี้แหละเมืองไทยเฮ้อ น่าเบื่อ (คนน่ะครับ)

  • Ton [07 พ.ย. 2548 , 04:26 PM]

    อยากได้ข้อมูลที่เป็นภาษาไทยมากกว่านี้นะคับ ช่วยส่งมาให้หน่อยนะคับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยคับ

  • BoyHaleruya [29 พ.ย. 2548 , 08:46 PM]

    อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเหมือนกันครับ จะได้เอาไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ ไว้เป็นแบบบรรยาย ในห้องเรียนนะครับ ช่วยส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ จะขอบพระคุณเป็นอย่างมากเลยครับ

  • วรินทร [24 ธ.ค. 2548 , 01:03 AM]

    เป็นเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ค่ะ พอดีเป็นหัวข้อที่ต้องทำส่งอาจารย์ด้วยค่ะ อยากได้ข้อมูลเป็นภาษาไทย บอกเล่าตั้งแต่ความเป็นมา เลยหนะค่ะ พอจะช่วยอนุเคราะห์ขอมูลส่งอีเมลล์มาให้ได้มั้ยค่ะ เพราะว่าจะ Present เรื่องwimax ในเดือนมกราคม 49 นี้ค่ะ ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้านะค่ะ

  • vespasky [18 ม.ค. 2549 , 07:19 PM]

    ขอข้อมูลที่เป็นภาษาไทบมากกว่านี้ได้เปล่าครับช่วยส่งมาให้หน่อยครับ

  • home [10 ก.พ. 2549 , 04:50 PM]

    ตอนนี้กำลังทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูล wimax ค่ะ อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาค่ะ ช่วยส่งให้ทางอีเมล์ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • yam==>wimax [15 ก.พ. 2549 , 02:21 PM]

    เผื่อจะใช้ได้

  • pornchai [05 พ.ค. 2549 , 12:43 AM]

    อยากทราบรายละเอียด ต้องการใช้มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ กับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขอข้อมูลส่งอีเมลล์มาให้ได้มั้ยค่ะ [email protected] เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลย

  • พัชชา [13 มิ.ย. 2549 , 04:57 PM]

    ที่มหาลัยให้ทำสัมมนา อยากทำสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเตืมต้องไปที่เว็บไซด์ไหนเหรอค่ะ อยากทราบมาก ติดต่อกลับมาหน่อยนะค่ะ

  • จิ๊บ [07 ก.ค. 2549 , 01:02 PM]

    เป็นเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ครับพอดีเป็นหัวข้อที่ต้องทำสัมมนา อยากได้ข้อมูลเป็นภาษาไทย บอกเล่าตั้งแต่ความเป็นมา พอจะช่วยอนุเคราะห์ขอมูลส่งอีเมลล์มาให้ได้มั้ยครับ เพราะว่าจะ Present เรื่องwimax มกราคม ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าครับ

  • นิกกี้ [12 ก.ค. 2549 , 02:51 PM]

    พอดีอยากจะทำเรื่องนี้ไป present นะค่ะเลยอยากได้ข้อมูลรายละเอียดที่เป็นภาษาไทย ตั้งแต่ความเป็นมาแล้วการพัฒนาจนถึงปัจจุบันนี้นะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้ามากๆเลยนะคะ

  • kamol [06 ม.ค. 2550 , 10:44 PM]

    ในรูปมัน 10 ไมล์เลยนี่ ประมาณ 30 กิโลเลยใช่มั้ยเนี่ย ไมล์นึงประมาณ 3 กิโล

  • alisa [23 มิ.ย. 2551 , 10:52 PM]

    อยากเอาไปทำรายงานเหมือนกันเลยอะคะ เซงมากมายเลย ตอนนี้หาไรไม่ได้เลย ช่วยกานหน่อยนะคะ ส่งมาให้บ้าง

  • น้องนิว [07 ก.ย. 2552 , 08:41 AM]

    อย่ากได้ข่าวที่เกี่ยวกับเทคโลยีใหม่ๆนะค่ะที่ใช้อยู่มันช้ามากเลย

  • lukza [01 ธ.ค. 2553 , 09:04 AM]

    ขอบคุณที่มีข้อมูลดีๆ