สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร 1/8
อัปเดท : 5 สิงหาคม พ.ศ.2551 , แสดง : 55,041 , ความคิดเห็น : 0
ครั้งนึงผมได้ทำงานดูแลระบบให้บริษัทแห่งนึง ซึ่งภายใน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 100 เครื่อง ระบบที่ใช้มีทั้ง DOS และ Windows โดยระบบ DOS เป็นแบบที่บูตผ่าน Floppy A เข้า NETWARE เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งโจทก์มันก็มีอยู่ว่า อยากให้เครื่องที่ใช้ DOS ใช้ Windows ได้ด้วย แต่เมื่อพิจารณาเครื่องที่ใช้ DOS ส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ค่อนข้างเก่า ครั้นจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ทั้งหมด ลง windows เพื่อใช้พิมพ์งานก็ดูจะไม่คุ้ม Word หรือ Open Office ดูจะไปกันใหญ่
ทีนี้ก็มาคิดว่าจะเอาอย่างไรดี ให้เครื่องเก่าๆใช้ windows ได้ ประวิงเวลาไปก่อนเพื่อถ้าดูคุ้มค่าค่อยซื้อเครื่องใหม่ แล้วแว๊บนึง ก็คิดถึง Thinclient เอ้ามาดูกันก่อนว่าอ้าย Thinclient คืออะไรผมไม่ขออธิบายเอง แต่สำเนาบางส่วนของบทความ "มาสร้างระบบ Thin Client ด้วยลีนุกซ์กันเถอะ" ซึ่งเขียนโดย ธีรภัทร มนตรีศาสตร์,RHCE มาให้อ่านกันก่อน (http://www.itdestination.com/articles/thinclient) แล้วค่อยต่อยอดเรื่องเอา PC มาทำ
คำว่า Thin Clients เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงกันอยู่เสมอ ๆ ในวงการไอทีทั่วโลก เนื่องด้วยปริมาณความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นจนแทบเป็นเรื่องปรกติในองค์กร ส่งผลให้จำนวนเครื่องลูกข่ายที่มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากจะหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ยังเป็นที่มาของความยุ่งยากในการดูแลบำรุงรักษาในด้านเทคนิคที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ยิ่งมีจำนวนเครื่องลูกข่ายในระบบมากเท่าไหร่ ปัญหาหลัก ๆ สองเรื่องดังกล่าวก็มักจะได้รับการนำมาทบทวนกันอยู่เสมอ และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเทคโนโลยีบางอย่างที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางออกให้แก่ปัญหาเหล่านั้น ปัญหาของ Thick Clientโดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network : LAN ) ซึ่งเครื่องที่เป็นลูกข่ายในระบบหรือ Client มักจะเป็นเครื่องพีซีที่มีสเปคเครื่องที่เปี่ยมประสิทธิภาพ ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุมาก ๆ หน่วยความจำที่มากเพียงพอต่อการรันแอปพลิเคชั่นที่นับวันจะต้องการพลังการประมวลผลสูงขึ้นทุกที และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงนานาชนิด เช่น ซีดีรอม เครื่องพิมพ์ ปัญหาของระบบที่ใช้เครื่องพีซีชุดใหญ่เช่นนี้จึงมีอยู่ไม่น้อยเลย เครื่องลูกข่ายประเภทนี้ ผู้เขียนขอเรียกสั้น ๆ ว่า Thick Client นะครับ Thin Client คืออะไรมีด้วยความต้องการที่จะลดขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเวิร์กสเตชั่นเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อช่วยให้ความยุ่งยากในด้านการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาลดลงไปได้ จึงทำให้เกิดแนวคิดของ Thin Client ขึ้น โดยลดทั้งขนาดและคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ลงให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงไปได้ส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็เป็นการยกเลิกทรัพยากรที่เป็นสื่อบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ ออกไปจากตัวเครื่องลูกข่าย แล้วยกภาระการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล การบริการงานแอปพลิเคชั่น ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และการควบคุมต่าง ๆ ให้ไปรวมอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นศูนย์กลางในระบบเครือข่าย ที่เรียกว่า Server Based Computing แนวคิดเช่นนี้จะช่วยให้เกิดประโยชน์หลายประการ โครงสร้างของระบบ Server Based Computingส่วนประกอบของระบบ Server Based Computing ที่จะนำเอา Thin Client มาใช้ประโยชน์ได้นั้นจะมี 3 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือเครื่องลูกข่าย เป็นเครื่องพีซีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ยูสเซอร์ต้องใช้งาน มีฐานะเป็น Terminal ตัวหนึ่งที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย และมีคุณสมบัติทางด้านซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการบูตระบบเข้าสู่เครือข่ายได้ด้วยตนเอง ส่วนที่สองคือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นเครื่องพีซีที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อสามารถให้บริการด้านเครือข่ายขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยเก็บข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทั้งหมด อาจรวมไปถึงให้บริการงานอื่น ๆ ตามความต้องการขององค์กรอีกด้วย เช่น เป็นอินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น หน้าที่หลักในการสนับสนุน Thin Client ก็คือ ทำหน้าที่เป็น Terminal Server ที่คอยสนับสนุนขั้นตอนการบูตระบบของ Thin Client ไปจนกระทั่งเครื่องเหล่านั้นสามารถใช้งานต่าง ๆ ได้ตามปรกติ และส่วนประกอบสุดท้ายคือ ระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายทั้งหลายเข้าสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง โปรโตคอล และบริการที่นำมาใช้เพื่อทำให้การใช้งาน Thin Client เกิดเป็นโปรเจคที่เป็นจริงขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยโปรโตคอล และบริการด้านระบบเครือข่ายประกอบเข้าด้วยกันมากมายหลายอย่าง ตามลำดับการทำงานที่เราสามารถสัมผัสได้ จะแบ่งออกตามขั้นตอนการบูตของเครื่อง Thin Client จนกระทั่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นได้ดังนี้ 1.2 บูตด้วยโปรโตคอล PXE ( Preboot [exec]ution Environment ) ซึ่งมักจะมี Build-in มาพร้อมกับไบออสของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ หรือ Flash เพิ่มเติมเข้าไปในการ์ดแลนรุ่นใหม่ ๆ ได้ |
ในส่วนคำอธิบายด้านบนซึ่งใช้ ลีนุกซ์ ในการทำ Terminal อาจแตกต่างที่ผมทำบ้าง ซึ่งถ้าเป็น Windows หลักๆก็ในข้อ 6,7 เพราะ Windows จะใช้ RDP โปรโตคอล หรือที่เราใช้ผ่าน Remote desktop นั้นเอง
เอาเป็นว่าขอจบตอนที่ 1 แค่นี้นะครับ แล้วจะเขียนต่อให้จบ อาจจะสัก 4-5 ตอน ขอเขียนสั้นๆเพราะเรื่องค่อนข้างยาวและรายละเอียดเยอะ
ผลที่ได้ก็คือเครื่องลูกข่ายทั้งหมด (เครื่องเก่าสุดเป็น 486 DX100) ใช้ Windows พิมพ์งานได้ ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเครื่อง PC ใหม่ทั่วไป ในเกือบทุกด้าน ที่แตกต่างก็คือลูกข่ายไม่ต้องมี Harddisk ไม่ต้องลง Windows ใช้เพียง LAN Card ก็ Boot เข้า Windows ได้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว (P4 3.0Ghz RAM2G) ที่ลง windows XP หรือ 2003 ไว้ สามารถให้บริการลูกข่ายที่ใช้งานทั่วๆไป ประมาณ 50 เครื่องได้สบายๆ อันนี้ทดสอบ RUN มาประมาณ 2 ปีกว่าๆแล้ว สุดคุ้มครับ
สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 8
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 7
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 6
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 5
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 4
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 3
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 2
- สร้างระบบ ThinClient ใช้ในองค์กร สุดประหยัดคุ้มค่า ตอนที่ 1
ผู้เขียน/อ้างอิง : จักรกฤษณ์ แร่ทอง
ระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์
เครื่องลูกข่าย(เก่าสุดเป็น 486 DX100) ไม่มี HARDDISK ใช้ Windows ได้ ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเครื่องพีซีทั่วไป
เครื่องลูกข่าย(เก่าสุดเป็น 486 DX100) ไม่มี HARDDISK ใช้ Windows ได้ ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเครื่องพีซีทั่วไป
เครื่องลูกข่าย(เก่าสุดเป็น 486 DX100) ไม่มี HARDDISK ใช้ Windows ได้ ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเครื่องพีซีทั่วไป
เครื่องลูกข่าย(เก่าสุดเป็น 486 DX100) ใช้ Windows พิมพ์งานได้ ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเครื่อง PC ปรกติ
แป้มพิมพ์ลัดทั่วไป แป้นพิมพ์ลัดของแป้นพิมพ์ Microsoft natural keyboard,แป้นพิมพ์ลัดของ Windows Explorer
เทคนิคการปรับแต่ง Registry
เหมาะที่จะเอาไว้ดูคร่าวๆมากกว่า หรือเอาไว้ดูตามร้านขายคอมพ์ หากเราไปเลือกซื้อ แต่ไม่แน่ใจในเสปก
Microsoft Virtual PC นั้น เป็นโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาบนระบบคอมพิวเตอร์
เพิ่ม Role ให้กับเซิร์ฟเวอร์จากหน้าต่าง Manage Your Server ลักษณะเช่นเดียวกับการติดตั้งเปนไฟล์เซิร์ฟเวอร์
การเปลี่ยนชื่อเครื่อง การเปลี่ยนกลุ่ม การจัดการยูสเซอร์ นโยบายความปลอดภัย การจัดการจากระยะไกล การจัดการฮาร์ดดิสก์